ขั้นตอนการออกแบบเพื่อเลือกโซ่ (Chain Selection Process)


1.ขั้นตอนในการออกแบบและการเลือกใช้มีอยู่ 7 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนที่ 1 ต้องเลือกว่า Conveyor Layout ที่เราต้องการนั้นเป็นสายพานชนิดวิ่งตรงหรือวิ่งโค้ง วิ่งเอียงขึ้น-ลง หรือวิ่งแบบวนคดเคี้ยว(Serpentine) หากเป็นสายพานที่วิ่งตรงสามารถใช้สายพาน Top chain ได้ทุกรุ่น ถ้าเป็นรุ่นวิ่งโค้งจะต้องเลือกใช้ให้ถูกรุ่นซึ่งมี 3 รุ่นคือรุ่นแบบ Tab แบบ Bevel รุ่น Magnetic หรือวิ่งวนคดเคี้ยวใช้โซ่แบบ Multiflex Chain นอกจากนี้ต้องสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมตาม Check List ข้างล่างนี้


ต้องสอบถามรายละเอียดชิ้นงานที่จะลำเลียงเช่นชิ้นงานคือวัสดุอะไรมีน้ำหนักกี่กิโลต่อชิ้น รูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร(กว้าง-ยาว-สูง)ทิศทางการลำเลียงเป็นอย่างไร

สอบถามเงื่อนไขการลำเลียงเช่น ต้องการลำเลียงกี่ชิ้นต่อนาที แต่ละชิ้นวางห่างกันระยะเท่าไหร่ ความเร็วของสายพาน(โซ่)ที่ต้องการ มีระบบการหล่อลื่นของคอนเวเยอร์หรือไม่ มีการลำเลียงแบบสะสม(Accumulation)ชิ้นงานหรือไม่ถ้ามีชิ้นงานสะสม(Accumulation)มีความยาวบนคอนเวเยอร์เท่าไหร่

เงื่อนไขหรือลักษณะการทำงานของมอเตอร์เปิด-ปิดต่อชั่งโมงบ่อยแค่ไหน สิ่งแวดล้อมมีน้ำมีสารเคมีหรือไม่ ความชื้นเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังต้องสอบถามว่ามีความเป็นไปได้ไหมที่จะเกิดการขัดสี(Abrasion)หรือมีสิ่งที่จะทำให้โซ่สึกหรอเร็วกว่าปกติเช่นมีเศษของขนาดเล็กแก้ว ทราย ของคม สิ่งแวดล้อมของ Conveyor ตั้งอยู่ในโรงงานที่ตั้งในร่มหรือกลางแดด (เกี่ยวข้องกับรังสี UV ซึ่งจะทำให้โซ่มีอายุงานที่สั้นลง)


ขั้นตอนที่ 2 หลังจากเราทราบว่าสายพานของเราวิ่งตรงหรือวิ่งโค้ง-เอียงหรือวิ่งแบบวนคดเคี้ยวแล้ว จะต้องตัดสินใจว่าจะเลือกขนาด Pitch ของโซ่ว่าใช้ Pitchเล็กหรือPitchใหญ่แค่ไหนจึงเหมาะสมกับชิ้นงานของเรา ถ้าเลือกPitchเล็กโซ่ก็จะสามารถวิ่งได้ราบเรียบกว่าPitch ใหญ่ ระยะห่าง(Gap)ระหว่างคอนเวเยอร์ 2 ตัวก็จะน้อยกว่า การทำงานของโซ่จะไม่สั่นมาก ถ้าเลือกเป็น Pitchใหญ่โซ่หนาขึ้นมีความแข็งแรงทนทานต่อการกระแทกได้สูงกว่า


ขั้นตอนที่ 3 คือเลือกผิวหน้าของโซ่ก็ต้องรู้ว่าโซ่วิ่งในแนวราบ วิ่งแนวเอียง หรือวิ่งวน ต้องการโซ่มีรูเพื่อทำความสะอาดหรือเพื่อติดตั้งลมดูดด้านล่างโซ่หรือไม่ สามารถเลือกผิวออกโซ่ได้หลายแบบเช่น แบบเรียบ แบบติดยาง หรือแบบติดบั๊ง(Cleat) สามารถดูได้จาก แฟะฟสนเ หรือขอรายละเอียดได้จากผู้ขาย


ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นก็เลือกระบบรองรับ(Support)น้ำหนักว่าเป็นยังไง แบบตรงแบบโค้งและหากเป็นแบบโค้งจะเลือกแบบ Tap แบบ Bevel หรือ Magnetic แบบวนคดเคี้ยว(Serpentine) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีลักษณะของที่รองรับ(Support)ที่แตกต่างกันไป







ขั้นตอนที่ 5 เลือกวิธีการและตำแหน่งการติดตั้งมอเตอร์ดูได้จากบทความที่ผ่านมาว่าจะติดตั้งที่หัวด้านบนด้านล่างหรือตรงกลาง


ขั้นตอนที่ 6 เลือกวัสดุของโซ่ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ปกติแล้วโซ่ Top chain จะใช้วัสดุ POMเป็นตัวมาตรฐานในการผลิตแต่ถ้ามีความจำเป็นในการใช้งานกรณีพิเศษสามารถผลิตโซ่ที่ใช้วัสดุเป็นแบบอื่นเช่นจ PP-PE-PA ได้


ขั้นตอนที่ 7 หลังจากเราคำนวณความแข็งแรง(Strength)ของโซ่ได้แล้ว ก็ไปเปิดใน Catalog ว่าโซ่ที่เลือกนั้นมีความแข็งแรง(Strength)เพียงพอกับที่จะรับแรงดึงในระบบจากการคำนวณได้หรือไม่ เป็นอันจบขั้นตอนการเลือกใช้โซ่ให้ถูกกับการใช้งาน มีตัวอย่างการคำนวณให้ดู***โปรดติดตามในหัวข้อต่อไป****


2.ขั้นตอนในการออกแบบและติดตั้ง (Installation)


การออกแบบ Conveyor layout แบบมาตรฐานนิยมมากที่สุด



การติดตั้งตำแหน่งสายพาน Wear Strip and Sprocket



การติดตั้งตำแหน่งสายพาน Wear Strip and Carry Support



การติดตั้งตำแหน่งสายพาน Wear Strip and Carry Support (หลายแถวความเร็วต่างกัน)



การติดตั้งตำแหน่งสายพาน(วิ่งโค้งมี Tab) Wear Strip and Carry Support



การติดตั้ง Return Support สายพานวิ่งตรง



รายละเอียดการติดตั้ง Return Support สายพานวิ่งตรง



การติดตั้ง Return (Slide Shoes) Support



การติดตั้ง Return Way (Curve wear Strip) Support



การติดตั้ง Curve section (Corner Disc) Support



การติดตั้งโซ่ Multiflex chain (ใช้ลำเลียงกล่อง)



การติดตั้งโซ่ Multiflex chain (ขับด้านข้าง)



Visitors: 74,738