Top Chain Conveyor การวาง layout

Conveyor Drive Recommendation (แนะนำการวางตำแหน่งติดตั้งมอเตอร์ขับ)

1.Drive Installation Concept


รูป1 คอนเวเยอร์แนวราบขับหัววิ่งทิศทางเดียวเป็นที่นิยมมากที่สุด



รูป2 คอนเวเยอร์แนวราบขับกลางวิ่งได้ 2 ทิศทางใช้เมื่อพื้นที่จำกัดหากมุมโอบ
มีค่าน้อยเกินไปโซ่จะกระโดดหากมากเกินไปโซ่จะไม่ปล่อยจากเฟือง



รูป3 คอนเวเยอร์ขับหัววิ่งในแนวเอียงขึ้นระยะท้องช้างอยู่ด้านล่าง



รูป 4. คอนเวเยอร์วิ่งในแนวเอียงลง ตำแหน่งมอเตอร์ขึ้นอยู่กับค่า
ส.ป.ส ความเสียดทาน(ระหว่างโซ่และ Wear Strip)และค่าของมุมเอียง



รูป5 แนวการวาง Conveyor layout แบบไม่ต้องมี ด้าน Return



แนวการวาง layout แบบคดเคี้ยว(Serpentine)


ระยะตกท้องช้าง(Catenary Sag)

โดยหลักการแล้วด้าน Return ของ Top Chain จะต้องวิ่งในลักษณะที่หย่อนคล้ายโซ่จักรยาน หากวิ่งด้วยความตึงมากไป โซ่จะกระโดด แต่เมื่อโซ๋ทำงานไปได้ระยะหนึ่งหากโซ่ยืดมากเกินไป ต้องปรับระยะตกท้องช้าง(Catenary Sag -ระยะที่ไม่มี Support ) เพื่อเก็บความยาวส่วนเกินของโซ่ไว้ไม่ให้ตึงหรือหย่อนเกินไป หากโซ่หย่อนมากต้องตัดข้อโซ่ออกให้สั้นลงเพื่อให้ได้ระยะตกท้องช้างก็ตามที่ต้องการ


รูป6 ระยะตกท้องช้างที่เหมาะสมหากมีค่าน้อยเกินไปSprocketไม่สามารถ
ถ่ายแรงให้โซ่ได้เพียงพอโซ่จะกระโดดหากมีค่ามากเกินไปโซ่จะไม่ปล่อยจากเฟือง



รูป7 ตารางแสดงการติดตั้งระยะตกท้องช้างและ Roller Support



รูป8 ระยะตกท้องช้างแนะนำโดยผู้ผลิตอีกรายหนึ่ง



รูป9 ระยะ Roller Support แนะนำโดยผู้ผลิตอีกรายหนึ่ง


เพื่อให้โซ่ด้านกลับ(Return)เข้าสู่รางวิ่งได้อย่างราบรื่น รัศมีความโค้งน้อยที่สุดของไกด์ต้องมากกว่า Back Flexing Radius (ดูใน Data Sheet ของโซ่แต่ละรุ่น) แนะนำรัศมีความโค้งที่น้อยที่สุดเท่ากับ 6 นิ้วหรือ 152 mm.


รูป10 Minimum Back Flexing Radius ของโซ่แต่ละรุ่น



รูป11 ติดตั้ง Entry Radius ของ Guide ด้าน Return


2.Tensioner Installation concept

ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่สำหรับติดตั้งระยะตกท้องช้าง(Catenary Sag)สามารถแก้ไขได้โดยติดตั้งตัวปรับตึง(Tensioner)ให้อยู่ในลักษณะเคลื่อนที่ ขึ้น-ลงในแนวดิ่ง การติดตั้งแบบนี้จะทำให้แรงดึงในโซ่คงที่ไม่ว่าโซ่จะมีความยาวแค่ไหนก็ตาม


รูป 12. เมื่อพื้นที่จำกัดไม่สามารถติดตั้งระยะตกท้องช้างที่เหมาะสมได้การติดตั้งตัวปรับตึง(Tensioner)
แบบเคลื่อนที่ ขึ้น-ลงในแนวดิ่งก็เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีอีกแบบนึง



รูป13 รูปการติดตั้งตัวปรับตึงโซ่การใช้น้ำหนักถ่วง 12 กก.ต่อโซ่ 1 แถว


3.Return support Installation concept


รูป14 Return Roller support คอนเวเยอร์ขับหัวและขับกลาง



รูป15 Minimum Return Roller Support Diameter



รูป16 Return Support แบบเต็มหน้ากว้างโซ่
เจาะรูเพื่อให้เศษสิ่งสกปรกหรือของเหลวลอดผ่านได้



รูป17 Return support แบบคดเคี้ยวเศษสิ่งสกปรกหรือของเหลวลอดผ่านได้


4. Carry way support Single Stand

ระยะห่างระหว่างไกด์(Guide Clearance) เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและให้ความสำคัญเป็นพิเศษขณะติดตั้งโซ่ หากติดตั้งระยะที่ไม่เหมาะสม จะทำให้การทำงานของระบบสายพานมีปัญหาเช่น ถ้าระยะห่างระหว่างไกด์(Guide Clearance)น้อยไปโซ่อาจจะติดขัดกับโครงสร้างไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ถ้าติดตั้งระยะมากเกินไปอาจจะทำให้โซ่วิ่งไม่ตรงไลน์และปีกโซ่หักง่าย ระยะห่างระหว่างไกด์(Guide Clearance)แต่ละรุ่นดูได้จาก Data Sheet ในแคตตาล็อกของผู้ขาย

4.1 Straight Running Top Chain Support


รูป18 ระหว่างไกด์(Guide Clearance) ด้าน Carry สำหรับสายพานวิ่งตรงตามรุ่น



รูป19 Cross section แสดงระหว่างไกด์(Guide Clearance) ด้าน Carry สำหรับสายพานวิ่งตรง




รูป20 Cross Section แสดงระหว่างไกด์(Guide Clearance)
ด้าน Carry สำหรับสายพานวิ่งตรงงบางรุ่น


4.2 Side Flexing Top Chain

ข้อพิจารณาในการเลือกใช้สายพานโค้ง ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่ามีงบประมาณเท่าไหร่ โดยต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยหลายประการ เช่น การทำความสะอาด การบำรุงรักษาง่ายหรือยาก ความปลอดภัยขณะทำงาน การกำจัดเศษสิ่งสกปรกที่ตกหล่นอยู่ในระบบลำเลียงหรือสภาวะการขัดสีระหว่างโซ่และSupport ความราบรื่นของการเปลี่ยนทิศทางด้านข้าง( Side Transfer)ของสายพานแต่ละรุ่น สายพานโค้งที่นิยมใช้มี 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 สายพาน Tab มีขาเกี่ยวกับรางสามารถยึดเกาะรางขณะวิ่งได้ดี ไม่สามารถยกโซ่ขึ้นจากรางมาทำความสะอาดได้

ประเภทที่ 2แบบ Bevel ขาเป็นแบบเอียงยึดเกาะรางได้ไม่ดีนักขณะวิ่ง แต่มีข้อดีคือสามารถยกโซ่ขึ้นทำความสะอาดได้ง่าย

ประเภทที่ 3แบบ Magnetic ยึดเกาะรางได้ดีและสามารถยกโซ่มาทำความสะอาดได้ดีกว่าประเภทอื่น

ตารางข้าง รูป 21 ล่างเปรียบเทียบคุณสมบัติสายพานโค้งทั้ง 3 ชนิด


รูป21 เปรียบเทียบคุณสมบัติของสายพานโค้งทั้ง 3 แบบ



รูป22 ระยะห่างระหว่างไกด์(Guide Clearance)ของสายพานโค้งรุ่นต่างๆ



รูป23 Minimum Side Flexing Radius ของสายพานโค้งรุ่นต่างๆ



รูป24 Cross section แสดงระหว่างไกด์(Guide Clearance) Bevel Side Flexing Chain



รูป25 Cross section แสดงระหว่างไกด์(Guide Clearance) Tab Side Flexing Chain



รูป26 Cross section แสดงระหว่างไกด์(Guide Clearance) Magnetic Side Flexing Chain



รูป27 คำแนะนำการติดตั้ง Magnetic Side Flexing เอียงขึ้น-ลง


5. Carry way support Multiple Stand

Wear Strip มีหน้าที่รับน้ำหนักของโซ่และชิ้นงาน การติดตั้งทำได้หลายรูปแบบผุ้เขียนรวบรวมจากผู้ผลิตหลายรายมาให้ในรูปข้างล่าง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างโซ่และที่รองรับ(Support) ตารางข้างล่างนี้แสดงคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำ Wear Strip ไม่แนะนำให้ใช้ Wear Strip และโซ่เป็นวัสดุชนิดเดียวกัน



รูป 28.คำแนะนำ Carry way support Multiple Stand



รูป29 ใช้Cross Bar ยึดกับโครงสร้างสำหรับ Multiple Stand Support



รูป30 สายพานแบบ Tab ระดับของสายพานทั้งสองเส้นเมื่ออยู่ในแนวโค้งจะต่างกัน



รูป31 สายพานแบบ Magnetic ระดับของสายพานทั้งสองเส้นเมื่ออยู่ในแนวโค้งจะเท่ากัน



รูป32 เลือกใช้ Wear Strip รุ่นที่ใช้งานมีขายจริงในท้องตลาด



Visitors: 79,687