Flexible chain คุณทำเองได้

    

 

 Flexible Conveyor ทำงานอย่างไร

   Flexible Conveyor หรือ สายพานลำเลียงแบบยืดหยุ่น

⚙️ หลักการทำงานของ Flexible Chain ️ประกอบจากชิ้นส่วนพลาสติกหรือโลหะที่เชื่อมต่อกัน ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงสามารถออกแบบให้โค้งซ้าย-ขวา หรือขึ้นลงได้ตามต้องการ

ระบบขับเคลื่อน (Drive System)

ใช้มอเตอร์และเฟืองขับในการเคลื่อนที่มีการออกแบบให้แรงเสียดทานต่ำเพื่อให้การลำเลียงลื่นไหล

รองรับการเคลื่อนที่ในหลายมิติ (Multi-Directional Movement)

เหมาะสำหรับเส้นทางที่มีมุมโค้งหรือความซับซ้อนพื้นที่น้อย ลดปัญหาคอขวดในสายการผลิต

เป็นระบบลำเลียงที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามการใช้งาน โดยมีลักษณะการขับเคลื่อนหลัก ๆ ดังนี้

 

 

 

1. ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ (Motorized Drive System)  

ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับสายพานใช้ สายพานขับเคลื่อน (Belt Driven)ให้แรงขับที่สม่ำเสมอ ควบคุมความเร็วได้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการขนถ่ายสินค้าต่อเนื่อง

 

 

 

2. ระบบขับเคลื่อนแบบไฮบริด (Hybrid System)

ผสมระหว่างมอเตอร์และแรงโน้มถ่วง  ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉพาะบางช่วง เช่น จุดเริ่มต้น หรือจุดที่ต้องการควบคุมความเร็ว  ลดภาระของมอเตอร์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

        

       

                             

 ลักษณะของสายพาน Flexible

Flexible chain หรือ สายพานลำเลียงแบบยืดหยุ่น 

เป็นระบบลำเลียงที่ออกแบบมาให้ สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรง ขยาย-หด ปรับความยาว หรือโค้งงอได้ตามลักษณะการใช้งาน ทำให้เหมาะกับกระบวนการลำเลียงที่ต้องการความยืดหยุ่นและการเคลื่อนย้ายที่สะดวก

                          

 

 1.Plate  

แผ่นเพลทบน(Top Plate)ฉีดออกมาเป็นชิ้นส่วนเดียวกันกับ Link ล่าง 

ใช้ในงานลำเลียงทั่วไปที่เป็นงานเบา(Light Duty) สามารถติดยางบนTop Plate

ให้ผิวมีการยึดเกาะกับสินค้าใช้กับในกรณีที่คอนเวเยอร์ลำเลียงอยู่ในแนวเอียงได้

 

 

 

 

2.การเชื่อมต่อของสายพาน

ใช้ชิ้นส่วนโซ่พลาสติกหรือโลหะที่เชื่อมกันเป็นข้อๆสามารถถอดหรือเพิ่มโซ่เพื่อปรับความยาวได้ง่าย

ใช้พินหรือล็อกพิเศษในการเชื่อมชิ้นส่วนโซ่ปรับความยาวได้ง่ายโดยการถอดหรือเพิ่มได้ตามต้องการ

  

 3.side flex Chain Minimum Radius Recommendation 

เป็นคุณสมบัติของสายพานลำเลียงแบบโซ่ (Flexible Chain Conveyor) ที่ช่วยให้สามารถ โค้งซ้าย-ขวาได้ โดยไม่ต้องหยุดการทำงาน ช่วยให้ระบบลำเลียงมีความยืดหยุ่นสูง ปรับเข้ากับพื้นที่การผลิตที่มีข้อจำกัดได้ง่าย  

ในการออกแบบ Conveyor แบบโค้ง(Side Flexing) ด้านข้างต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของรัศมีต่ำสุดของเส้นโค้ง (เราไม่สามารถออกแบบให้รัศมีน้อยกว่ารัศมีที่ต่ำสุดของส่วนโค้งได้)โดยทั่วไปแล้ว โซ่ Table Top Chain มีหน้ากว้าง 4.5 นิ้ว ความกว้างสูงสุด 7.5 นิ้ว จะมีรัศมีกึ่งกลางต่ำสุด 24 นิ้ว โซ่กว้าง 10 นิ้ว และ 12 นิ้ว มีรัศมีกึ่งกลางต่ำสุด 30 นิ้ว (ข้อมูลที่ถูกต้องของรัศมีต่ำที่สุดของเส้นโค้งสามารถขอดูได้จาก Data Sheet จากผู้ขายโซ่ยี่ห้อที่เราเลือกใช้) เมื่อใช้ Table Top Chain แบบโค้ง(Side Flexing) ลำเลียงชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก รูปร่างไม่มั่นคงต้องระมัดระวังเรื่องช่องว่างของโซ่ที่รัศมีด้านนอกสุดที่มีช่องว่างขณะเลี้ยว โซ่ที่มีหน้ากว้างมากจะมี ช่องว่างระหว่าง Link มากขึ้นด้วย เมื่อโซ่เคลื่อนที่ผ่านโค้ง ช่องว่างด้านในจะปิดเล็กลง แต่ช่องว่างด้านนอกจะกว้างมากขึ้นทำให้ชิ้นงานขนาดเล็กหรือมีรูปร่างไม่เสถียรล้มได้ ข้อแนะนำในการออกแบบในกรณีนี้ ควรใช้โซ่ที่มีหน้าแคบสองหรือสามเส้นแทนโซ่ที่มีหน้ากว้างมากเพียงเส้นเดียว ตัวอย่างเช่น แทนที่จะใช้โซ่กว้าง 10 นิ้วหนึ่งเส้น ให้ใช้โซ่ขนาด 4.5 นิ้วสองเส้นและโซ่ 3/4 นิ้วหนึ่งเส้นเป็นต้น

 

 

 

4.การเชื่อมต่อระหว่าง conveyor (Tranfer) 

                 Dead Plate Transfer เพื่อให้การลำเลียงราบรื่นที่สุดควรติดตั้งแผ่น(Dead Plate)เชื่อมให้อยู่ในระดับที่พอดีหรือสูงกว่าโซ่ป้อนออก (Out Feed Chain)เล็กน้อย แผ่นเชื่อม(Dead Plate)ควรทำมุมเอียงให้ส่วนปลายบางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ชิ้นงานลำเลียงเข้าและออกจากแผ่นเชื่อม(Dead Plate)โดยไม่สะดุด 

 

 transfer roller ลูกกลิ้งทำหน้าที่รองรับสินค้าและหมุนเพื่อให้สินค้าเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่กำหนด  อาจใช้ Transfer Roller ร่วมกับระบบ Guide Rail หรือ Stopper เพื่อควบคุมทิศทางสินค้าเหมาะกับสินค้าที่มีพื้นเรียบ เช่น กล่อง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 5.Guide Rail Recommendation

        Guide Rail ใช้ประคองชิ้นงานไม่ให้ล้มขณะวิ่งอยู่บน conveyor ตัว ขายึด (Guide Rail Support ) มี2 แบบ แบบฉากยึดรางแบบตายตัว(Fixed Bracket) และแบบปรับ(Adjustable Bracket) ได้ ขายึดแบบตายตัวมีราคาถูกที่สุด สำหรับขายึดแบบปรับได้(Adjustable Bracket) รางไกด์สามารถปรับเข้า-ออก ขึ้น-ลง ได้ตามความจำเป็นเพื่อรองรับชิ้นงานที่มีขนาดต่างกัน กรณีชิ้นงานมีความสูงมาก ใช้ Guide Rail สองชิ้นขึ้นไปโดย Guide Rail ด้านล่างจะป้องกันชิ้นงานไม่ให้ล้ม ส่วน Guide Rail ด้านบนจะติดตั้งในระดับประมาณสองในสามของความสูงชิ้นงานเพื่อประคองชิ้นงานไม่ให้ล้ม

 



 

6.ระบบปรับแรงตึง (Tensioning System)

ป้องกันสายพานหย่อนหรือตึงเกินไป  ป็นกลไกที่ช่วยควบคุมความตึงของสายพานพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่น ป้องกันปัญหาการลื่นไถล (Slippage) หรือการหย่อนเกินไป (Slack) ซึ่งอาจทำให้สายพานเสียหายและลดประสิทธิภาพของระบบลำเลียงใช้เกลียวปรับ (Threaded Adjuster) หรือสกรูหมุน (Tension Bolt) เพื่อปรับระดับแรงตึง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบและปรับด้วยมือเป็นระยะเหมาะกับงานอุตสาหกรรมหนักที่ต้องการการปรับแรงตึงที่แม่นยำ

 

 

 

 

Visitors: 86,247