Positive drive belt
ตอนที่ 1.วิวัฒนาการของสายพานในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry)
Hyiene belt in Food Processing Industry
จุดประสงค์ ต้องการสายพานที่มีความสะอาดสูงสุด
วันนี้วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นวันอาสาฬหบูชา บันทึกว่าเป็น “วันหยุดอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติและเพื่อตัวเอง” อีกครั้งหนึ่งเพราะ Covid 19 อาละวาดหนัก คอนเวเยอร์ไกด์พอมีเวลาว่างก็เลยถือโอกาสแบ่งปันความรู้ดีๆเกี่ยวกับสายพานลำเลียงชนิดสะอาดสุดๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมสุดๆในอุตสาหกรรมอาหารสด ให้แฟนๆของเราไปต่อยอดทำงานต่อได้ ผู้เขียนคิดว่าจะเขียนประมาณ 4-5 ตอน ผู้อ่านก็คงได้ข้อมูลครบถ้วนเพียงพอที่จะสามารถตัดสินใจเลือกสายพานประเภทนี้ได้
เรื่องที่จะนำมาแบ่งปันวันนี้เป็นเรื่องของสายพานที่เน้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะเป็นสายพานที่ออกแบบมาเพื่อให้ได้ความสะอาดสูงสุด เรียกว่า Hygiene Belt ภาษาไทยเรียกว่าสายพานเพื่อความสะอาดและสุขอนามัยที่ดี สายพานชนิดนี้ในอุตสาหกรรมทั่วไปไม่นิยมใช้เพราะราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกว่าสายพานประเภทอื่น(PVC/PU or Modular Belt )ที่ให้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
1.1 ใช้ในไลน์สายพานในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry) อะไรบ้าง
จุดประสงค์ของสายพานประเภทนี้นิยมใช้ลำเลียงใน Food Processing Conveyor แปรรูปอาหารประเภทเนื้อสดไม่ว่าจะเป็น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อหมู-วัว ปลา หอย กุ้ง ส่วน ผัก ผลไม้หรืออาหารประเภทอื่นก็ได้เช่น คุกกี้ ขนมปัง เบเกอรี่ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
Poultry Processing อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก
Meat Processingอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์
อุตสาหกรรมอาหารที่ใช้สายพาน Positive Drive Belt
ตัวอย่างสาพานในอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้สายพาน Positive Drive Belt
ก่อนที่จะเข้าเรื่อง Conveyor Belt in Food Industry คอนเวเยอร์ไกด์ก็อยากจะขอทำความเข้าใจแฟนคลับด้วยว่า คอนเวเยอร์ไกด์ อยากให้ผู้อ่านรู้ภาพรวมของสายพานประเภทที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเสียก่อน หากยังไม่รู้หรือรู้เป็นเพียงจุดใดจุดหนึ่ง ก็จะเหมือนตาบอดคลำช้างที่เข้าใจความจริงแค่ส่วนเดียว เมื่อ sale(ผู้ขายสินค้า) เสนออะไรมันก็รู้สึกว่าจะถูก จะดีไปหมดเสียทุกอย่าง ผู้อ่านไม่สามารถวินิจฉัยหรือหาเหตุผลอะไรมาโต้แย้งได้ แต่ถ้าผู้อ่านติดตามบทความต่างๆของ คอนเวเยอร์ไกด์จะเห็นว่าคอนเวเยอร์ไกด์ เราจะนำเสนอภาพรวมเรื่องราวต่างๆให้ท่านสามารถ มีเหตุมีผลในการเลือกสายพานได้เอง โดยผู้เขียนเป็นเพียงผู้รวบรวมและย่อยข้อมูลต่างๆจากผู้ผลิตจากหลากหลายแหล่งมารวบรวมและย่อยให้ ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายๆ สามารถใช้วิจารณญาณใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้ถูกต้อง ดังนั้นคอนเวเยอร์ไกด์ยินดีที่จะนำเสนอเรื่องวิวัฒนาการของสายพานที่ทำงานทั่วไปแบบเบาๆ (Light Conveyor belt) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ใน Food Processing เนื่องจากผู้ผลิตสายพานแต่ละแห่งก็จะมุ่งหวังแต่มุ่งเน้นนำเสนอข้อมูลแคตตาล็อกของตัวเอง ไม่ได้เสนอให้ผู้อ่านทราบภาพรวมจึงเป้นหน้าที่ของเราที่คิดและแบ่งประเภทของสายพานให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจ ดังนั้นคอนเวเยอร์ไกด์ จึงขออนุญาตแบ่งวิวัฒนาการของสายพานใน Food Processing เองตามความเข้าใจของเราเป็น 3 Generation คือ
วิวัฒนาการของสาพานในอุตสาหกรรมอาหาร
1.Generation 1 เรียกว่าสายพาน PU/PVC สายพานประเภทนี้น่าจะผลิตใช้งานกันมามากกว่า 100 ปีลักษณะทั่วไปของสายพาน ด้านหน้าผิวเรียบหรือมีลาย(Pattern)ก็ได้ ด้านท้องสายพานจะเป็นเนื้อ PVC/PUเรียบหรือเป็นท้องผ้า(ใบ)ก็ได้เหมือนกัน ภานในตัวสายพานมีเส้นใยรับแรงดึง(Tension Fabric) ทำงานแบบ Fiction Drive คืออาศัยแรงเสียดทานทำให้สายพานเคลื่อนที่ ปัญหาหลักของสายพานประเภทนี้มี 2 เรื่องคือ
1.ปัญหาสายพาน Slip/Slide เนื่องจากสายพานประเภทนี้ทำงานแบบ Fiction Drive กล่าวคืออาศัยความฝืดระหว่างสายพานและลูกกลิ้งที่ทำให้สายพานหมุน ดังนั้นระบบต้องมีตัวปรับตึง(Take Up) คอยปรับแรงดึงให้สายพานตึงเหมาะสม ถ้าปรับไม่ตึงพอก็จะเกิดปัญหาลูกกลิ้งหมุนฟรี(Slip) สายพานสายพานไม่วิ่ง หรือถ้าปรับตัวปรับตึง(Take Up) ไม่ได้สมดุลกัน 2 ข้าง สายพานก็จะสไลด์(Slide) วิ่งไม่ตรงแนว (Misalignment) เป็นเหตุให้ขอบสายพานไปกระทบเสียดสีกับโครงสร้างทำให้ขอบสายพานหลุด เศษสายพานอาจจะปนเปื้อนกับอาหารได้
2. ปัญหาขอบสายพานลุ่ย(Fray) จากปัญหาของสายพานที่เกิด Slip/Slide ทำให้ชั้นผ้าใบ(Fabric) ที่ขอบสายพานหลุดลุ่ย(Fray) แบคทีเรียสามารถมาเกาะติดกับใยของFabric ที่ขอบสายพานได้ ดังนั้นในอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการความสะอาดสูงสุดจึงรับข้อนี้ไม่ได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะสามารถหุ้มขอบสายพานโดยไม่ให้ชั้นผ้าใบโผล่ออกมาข้างนอกได้แล้วก็ตามแต่เมื่อขอบหลุดออกมาเศษสายพานก็จะปนเปื้อนไปกับอาหารและเส้นใยก็จะโผล่ออกมาอีกครั้งได้ เพื่อแก้ไขปัญหานี้จึงมีการพัฒนาสายพานเจนเนอเรชั่นที่ 2 ขึ้นมาเรียกว่าสายพานพลาสติกโมดูล่าร์ (Plastic Modular Belt)
2.Generation 2 เรียกว่าสายพาน Modular ผลิตมาตั้งแต่ปี 1970 หรือถ้านับถึงปี พ.ศ. 2564 ก็ประมาณ 51 ปีแล้ว นับว่าเป็นสายพานที่ใช้งานมายังไม่นานมากนัก ผู้เขียนคิดเองว่าน่าจะนำมาใช้ในประเทศไทยเราประมาณ 20-30 ปีนี้เอง สายพาน Modular ออกแบบมาเพื่อการปิดจุดอ่อนของสายพาน Generation 1(ทำงานแบบ Fiction Drive) คือสายพานโมดูล่าร์ขับเคลื่อนด้วยระบบที่เรียกว่า Positive Drive (ใช้เฟืองเป็นตัวขับ) ดังนั้นจึงแก้ปัญหาของสายพานใน Generation ที่ 1 คือการ สลิปสไลด์ (Slip/Slide ) และการวิ่งไม่ตรงแนวได้ สำหรับการแก้ไขปัญหาข้อที่สอง(ขอบสายพานลุ่ย(Fray)คือสายพานโมดูล่าร์ไม่มีชั้นผ้าใบจึงลดการเกาะของแบคทีเรียที่ผิวสายพานได้ อย่างไรก็ตามสายพานโมดูล่าร์ก็ยังมี รอยต่อ(Joint) และช่องว่างและรูมากมาย ระหว่างลิงค์(Link) ซึ่งหากทำความสะอาดไม่ทั่วถึงหรือทำความสะอาดไม่บ่อยพอ แบคทีเรียจะเกาะสะสมในร่องในรูสายพานได้ ดังนั้นเมื่อมีปัญหาก็ต้องมีทางแก้ปัญหา สายพานเจนเนอเรชั่นที่ 3 จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปิดจุดอ่อนของ generation ที่ 1 และ Generation ที่ 2
3.Generation 3 สายพานเจนเนอเรชั่นที่ 3 นี้มีหลายชื่อเรียก ต่อไปนี้ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร ให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นสายพานประเภทเดียวกันเช่น Homogeneous Belt/Extrude PU belt /Positive Drive belt / Hygienic Belt ชื่อเรียกเหล่านี้ตั้งขึ้นตามผู้ผลิตแต่ละรายที่จะคิดสรรหาคำหรูๆออกมาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า สายพานเจนเนอเรชั่นที่ 3 นี้นำข้อดีและปรับปรุงข้อเสียของสายพานในเจนเนอเรชั่นที่ 1 และเจนเนอเรชั่นที่ 2 มาประยุกต์ โดยผิวด้านบนสามารถทำให้เรียบ(มีรุ่นป้องกันแบคที่เรีย (Antimicrobial)ได้) และระบบขับเคลื่อนใช้เฟืองหรือ Positive Drive Belt ผู้เขียนเดาเองว่าสายพานเจนเนอเรชั่นที่ 3 คงผลิตออกมามีอายุน้อยกว่า 40 ปี (ปีนี้คือพ. ศ. 2564 )
ลักษณะสาพาน Positive Drive Belt ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
ลักษณะของสายพานเจนเนอเรชั่นที่ 3 คือสายพานผลิตโดยวิธี Extrusion(การรีดออกมา) ผิวสายพานเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) ด้านบนสายพานจะเรียบเหมือนสายพาน PVC (ใน Generation 1) ไม่มีชั้นผ้าใบ (บางรุ่นที่ใช้แรงดึงมากสามารถเสริมผ้าใบได้) ดังนั้นเหตุที่เนื้อสายพานที่เรียบไม่มีรูไม่มีใยของFabric แบคทีเรียไม่เกาะ และทำล้างทำความสะอาดง่าย ส่วนผิวด้านล่างมีซี่ตลอดแนว สำหรับใช้เฟืองขับ(Positive Drive) ทำให้ไม่สลิป ไม่สไลด์ (Slip/Slide) ดังนั้นในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสด เช่นเนื้อหมู-วัว หรือไก่จะนิยมสายพานชนิดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้สำหรับ Conveyor ที่ต้องการราคาประหยัด ยังมีสายพานประเภทเดียวกันที่ทำด้วยโพลียูรีเทนที่มีผิวหน้าเรียบทั้งสองด้าน ทำงานด้วยระบบแรงเสียดทาน(Friction Drive) ที่ราคาถูกกว่าให้เลือกอีกด้วย
2. Positive Drive-Homogeneous Belt คืออะไร
คอนเวเยอร์ไกด์เป็นบริษัทที่มุ่งแบ่งปันความรู้ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เรื่องสายพาน เราพยายามที่จะนำเสนอภาพรวมให้ ข้อมูลครบถ้วน รอบด้านมากที่สุดเท่าที่เราทำได้ เรามักจะค้นประวัติความเป็นมาว่าจุดเริ่มต้นของเรื่อง มันคืออะไร มันเป็นยังไง เริ่มที่ใครมาจากไหน และมีพัฒนาการอย่างไร จาก อดีต ถึงปัจจุบัน เราเชื่อว่าถ้าผู้อ่านมีเข้าใจภาพรวมแล้วผู้อ่านก็จะสามารถตัดสินใจเลือกใช้สายพานให้เหมาะสมกับงานและเหมาะสมกับเงินที่จ่ายไปได้
คือ เราเชื่อว่าผู้ซื้อฉลาดมาก เพราะผู้ขายแต่ละรายก็นำเสนอสินค้าของตนให้ทราบ ปัญหาของผู้ซื้อสายพานชนิดนี้ก็คือ ไม่มีเวลาหาข้อมูล ทำให้ผู้ซื้อไม่มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะสามารถเลือกได้ว่าสิ่งไหนที่เหมาะสมกับงานของตัวเองที่สุด ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตรายไหนหรือแบรนด์ไหนที่ให้คุณภาพของสายพานเหมาะสมกับราคา ข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่มีผู้ผลิตรายไหนรวบรวมมาไว้ให้ แต่ต้องเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อต้องหาข้อมูลและพิจารณาเอาเอง เพราะผู้ขายแต่ละรายก็พยายามพูดเรื่องข้อดีของตัวเองดีๆ ไม่เคยเปรียบเทียบให้ผู้ซื้อได้รับทราบข้อมูลของผู้ผลิตรายอื่น ดังนั้น คอนเวเยอร์ไกด์ ขออาสามารวบรวมนำสิ่งที่คิดว่าจะเกิดประดยชนืแก่ผุ้ซื่อมาทำให้กระจ่างตามMotto ของเราที่ว่า “ บอกทุกเรื่องที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ ” ขอออกตัวก่อนว่าความเห็นต่อไปนี้เป็นความเห็นเฉพาะตัวของเราที่พิจารณา ตามข้อมูลเหตุตามผลและวิจารณาณานของเราเท่านั้น ถูกผิดยังไงผู้อ่านลองพิจารณาค้นข้อมูลเพิ่มเติมดูเองซึ่งอาจจะได้คำตอบที่ดีกว่าเราก็ได้ ต่อไปเราจะคุยต่อว่าสายพานเพื่อความสะอาดและสุขอนามัยที่ดีนี้มันมีประวัติหรือว่าความเป็นมายังไงบ้างแต่ละผู้ผลิตเรียกชื่อมันว่าอย่างไร ผู้ผลิตต่างคนก็ต่างผลิตออกมาแล้วก็จะตั้งชื่อให้แตกต่างกันไปเพื่อเป็นเหตุผลทางด้านการค้า ส่วนที่ไปที่มาของชื่อคอนเวเยอร์ไกด์จะลองสันนิษฐาน(เดาล้วน ๆ)ว่ามันมีที่มาอย่างไร
ประวัติสาพาน Positive Drive Belt ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
Thermo Drive = Thermoplastic + Drive = Positive Drive = สายพานพลาสติกที่ขับเคลื่อนโดยใช้เฟือง
สำหรับชื่อ Thermo Drive ผู้เขียนสันนิฐานว่าเกิดจากการผสมคำจากคำว่าเทอร์โมพลาสติก + Positive Drive มาผสมกัน เป็นการจำแนกสายพานตามชนิดของวัสดุ(พลาสติกแบบเทอร์โมพลาสติก) และบวกกับวิธีขับสายพานเป็นแบบใช้เฟือง(Positive Drive) เขาก็เลยตั้งชื่อเป็น Thermo Drive
บริษัท B (สมมติ) จาก Netherland เรียกว่า Super Hygienic belt แปลตรงตัวว่าสายพานสุดยอดของความสะอาด การตั้งชื่อก็คงอิงมาจากผลลัพธ์ของการใช้สายพานชนิดนี้ว่าใช้แล้วสะอาดมาก ส่วน Homogeneous Solidflex Belt ก็อาจจะมาจาก Homogeneous ซึ่งหมายความว่าสายพานชนิดนี้ผลิตมามีเนื้อเดียวกันทั่วทั้งเส้น ขณะเดียวกัน Solidflex ผู้เขียนสันนิฐานว่าหมายถึงสายพานมีความแข็ง(Solid)แต่ยืดหยุ่น(Flex)ได้ดี เป็นการจำแนกตามคุณสมบัติของเนื้อสายพาน(Solid)และคุณสมบัติทางกลของสายพานก็คือแข็งแรง(Solid)และเวลาใช้งานก็ยืดหยุ่น(Flex)ได้ดีเป็นต้น
บริษัท C (สมมติ) มาจาก อิตาลี ยุโรปเช่นกัน ตั้งชื่อตามสีของสายพานว่า MEGABLUE ผู้เขียนสันนิฐานว่ามาจาก สายพานมีสีน้ำเงินก็เลยตั้งชื่อง่ายๆว่า MEGABLUEคือสีน้ำเงินที่ยิ่งใหญ่หรือดีเลิศประมาณนั้น
บริษัท D (สมมติ) ก็มาจากฝรั่งเศส ค่ายยุโรปเหมือนกัน ตั้งชื่อว่า Positive Driven Belt เป็นการจำแนกหรือการเรียกชื่อสายพานตามวิธีขับสายพาน คือการใช้เฟืองขับ (Positive Driven Belt)เป็นต้น ส่วนชื่อทางการค้าก็มีหลายแบบไม่ต้องเอ่ยถึงในที่นี้
นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตอีกหลายรายก็ตั้งชื่อแปลกๆออกมาอีกมากมายซึ่งคอนเวเยอร์ไกด์ จะไม่กล่าวในที่นี้อีก เพราะอาจจะมีผู้ผลิตมากถึง 100 รายชื่ออีก 100 ชื่อ จำชื่อคงไม่ไหว จำหลักการดีกว่า แต่เรื่องที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าสินค้าเหล่านี้เริ่มต้นที่อยู่ยุโรปและอเมริกา และเป็นที่ยอมรับและรู้กันดีว่าถ้าเป็นสินค้าที่ฝรั่งผลิตราคาแพงแน่นอน ชาวบ้าน(ผู้ทำ Conveyor รายเล็ก) และผุ้ใช้งานทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้ง่าย แต่ด้วยการแข่งขันที่เข้มข้นขณะนี้ฝรั่งผู้ผลิตหลายบริษัท ได้ย้ายแหล่งผลิตมาที่เอเชียแล้วโดยเฉพาะที่ประเทศจีน เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่าย ด้วยคุณภาพที่การันตีโดยบริษัทแม่แต่ราคาแบบเอเชียที่น่ารัก น่าคบหายิ่งขึ้นยิ่ง
ก่อนจบบทความบทนี้ ขอสรุปว่าสายพานที่ขับเคลื่อนด้วยเฟือง (Positive Driven Belt) และมีผิวหน้าที่เรียบทำด้วยเทอร์โมพลาสติกเหล่านี้ มีผู้ผลิตแบรนด์ดังๆหลายแบรนด์ผลิตออกมาจำหน่ายจากหลากหลายแหล่งผลิตในแต่ละทวีป ในปัจจุบัน หลายผู้ผลิตแบรนด์ดังได้ย้ายแหล่งผลิตมาอยู่ที่ประเทศจีน เพราะฉะนั้นผู้อ่านมีทางเลือกที่จะเข้าถึงมากขึ้นทั้งในเรื่องคุณภาพและราคา ให้ท่านจะเลือกใช้ ส่วนคอนเวเยอร์ไกด์ ยังคงจะมุ่งแบ่งปันข้อมูลเรื่องสายพานที่เป็นประโยชน์และครบถ้วนมากที่สุด เพื่อให้ผุ้อ่านรู้ว่าทำยังไงถึงจะเลือกสายพานให้ถูกต้อง คุ้มค่าตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งคอนเวเยอร์ไกด์ก็จะนำเสนอ ตอนที่ 2 เรื่องการเลือกสายพาน(Belt Selection) ในตอนต่อไป โปรดติดตาม