Homogeneous Belt Selection

ตอนที่ 2 Homogeneous Belt Selection (การเลือกการสั่งซื้อสายพานแบบสะอาดสุดๆ)

ก่อนเข้าเรื่องที่จะนำมาแบ่งปันในวันนี้ คอนเวเยอร์ไกด์ ขอสารภาพกับผู้อ่านว่าเรามีอุปสรรคพอสมควรในการหาข้อมูลเพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพใหญ่ (Big Picture) ที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมเป็นระบบตลอดจนสามารถเชื่อมโยงจากภาพใหญ่ที่สุดไปหาส่วนประกอบที่ย่อยที่สุด เนื่องจาก อันดับแรกที่เราสารภาพคือ เราไม่ได้เก่ง ไม่ได้มีความรู้ไปเสียทุกเรื่อง อันดับที่สอง ข้อมูลที่มีมันกระจัดกระจายเราต้องพยายามรวบรวมด้วยความยากลำบากแล้วนำมาแยกแยะ จัดหมวดหมู่ด้วยตัวเองในเวลาอันจำกัดทำให้งานเขียนของเราไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร อันดับสาม ทักษะการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นงานที่ไม่ค่อยถนัดนักเพราะงานเขียนต้องเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์คนเขียนเรียนมาด้านวิทย์ไม่ได้เจบมาด้านนิเทศฯศาตร์ ดังนั้นเรื่องที่นำเสนออาจจะไม่ไหลลื่นเหมือนนักเขียนอาชีพ จากนั้นต้องนำเรื่องทั้งหมดมาสรุปด้วยตัวเองเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแบบง่ายๆ ก็เป็นข้อจำกัดของเราอีกอย่างหนึ่ง ว่าไปแล้วก็ยากกว่าให้เราไปทำงานที่หน้างานเสียอีก ดังนั้นหากเรื่องราวใดๆก็ตามที่เรานำเสนอไป หากยังไม่ดีไม่สมบูรณ์หรือยังไม่ ชัดเจนพอ ผู้อ่านสามารถติดต่อเข้ามาคุยกับเราได้ เข้าใจตรงกันนะครับ เข้าเรื่องกันได้เลย


ภาพรวม Product Line ของ Homogeneous Belt


1.การเลือกสายพานตามระบบการขับเคลื่อน(Drive System)

คุณสมบัติหลักที่คล้ายกันของเนื้อสายพานประเภท Homogeneous Belt ไม่ว่าจะมีวิธีขับที่แตกต่างกันก็คือ เนื้อสายพานจะสามารทนน้ำมัน ทนสารเคมี และทนทานต่อการขีดข่วนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งต้องผ่านการรับรองของ FDA ว่าสามารถใช้ลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารและอาหารสัมผัสได้ Product มีทั้งแบบเรียบเพื่อทดแทนสายพาน PVC แบบดั้งเดิม และแบบขับเคลื่อนด้วยเฟืองเพื่อทดแทนสายพาน Modular คอนเวเยอร์ไกด์ ขอแบ่งประเภทระบบการขับเคลื่อน(Drive System) ของสายพานแบบนี้เป็น 2 ประเภทคือ

1. สายพานที่ขับเคลื่อนด้วยแรงเสียดทาน(Friction drive) จุดสงค์ของสายพาน Homogeneous Belt ทำมาเพื่อที่จะนำไปเปลี่ยนสายพาน PVC เส้นเดิมที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันแต่ยังไม่ตอบโจทย์ความสะอาดสูงสุด หรือจะใช้กับ conveyor ไลน์ใหม่เลยก็ได้ การออกแบบและการใช้งานก็เหมือนสายพานแบบ PVC ทั่วไปที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว คือมี Head Pulley เป็นตัวขับ และมี Tail Pulley เป็นตัวตาม โดยใช้แรงเสียดทานระหว่างสายพานและ Pulleyที่ทำให้สายพานหมุนไปได้ สายพานชนิด Homogeneous Belt นี้มีทั้งเป็นเนื้อ TPU ล้วน ๆ และเนื้อ TPU +Polyester ตัวสายพานมีแบบเรียบไม่เสริมผ้าใบและเสริมด้วยชั้นผ้าใบ(Aramid=Kevlar) ผิวด้านบนจะเรียบ(Flat)หรือมีลาย (Pattern surface)ก็ได้ ส่วนผิวด้านล่างเรียบ(Flat)เท่านั้น ถ้าหากเป็นงานเบาทั่วไปใช้สายพานเรียบ(Flat)โดยไม่ต้องมีผ้าใบเสริม ถ้าใช้งานหนัก (แรงดึงในสาพานเกิน 50% Allowable Belt Load) ใช้สายพานเรียบเสริมผ้าใบ(Aramid=Kevlar) เพื่อให้สามารถรับแรงดึงได้สูง ข้อดีของการเลือกใช้สายพานประเภท Homogeneous Belt แบบเรียบนี้คือราคาถูก แต่ข้อเสียคือเมื่อใช้งานจะเกิด สลิป(Slip) สไลด์(Slide) เราต้องคอยปรับ Take Up อยู่เป็นประจำ สายพานที่มีผ้าใบเสริมจะราคาสูงกว่าสายพานที่ไม่มีผ้าใบ ข้อดี Homogeneous Belt แบบเรียบคือราคาจะถูกกว่าสายพาน Homogeneous Belt ที่ใช้เฟืองขับ (Positive Drive)


Flat Homogeneous Belt ขับเคลื่อนด้วยแรงเสียดทาน(Friction Drive)


2.สายพาน Homogeneous Belt ที่ขับเคลื่อนด้วยเฟือง(Sprocket) เรียกว่าการขับเคลื่อนด้วยระบบโพซิทีฟไดร์ฟ (Positive Drive)สายพานจะมีความตึงน้อยมากหรือไม่มีความตึงเลย ออกแบบมาเพื่อทดแทนสายพานแบบ Modular belt (ที่ผิวมีรอยต่อยังไม่ตอบโจทย์กับอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการความสะอาดสุดๆ) มีทั้งแบบไม่มีผ้าใบและมีผ้าใบเสริม คอนเวเยอร์ไกด์ขอแบ่งระบบขับแบบเฟืองให้ย่อยลงไปอีกเป็น 3 ระดับคือ

2.1 Positive Drive การขับโดยใช้เฟืองขับที่ร่องใต้ท้องสายพานที่ตำแหน่งไหนก็ได้ เป็นสายพานที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะระบบการขับเคลื่อนโดยเฟืองสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการ สลิป(Slip) ที่เป็นปัญหาของสายพาน PVC แบบเรียบได้ แต่สายพานยังสามารถสไลด์(Slide)ได้ หากมีแรงกระทำ(Load)ด้านข้าง(Lateral) เช่น กรณีการ Load สินค้าในแนวตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของสายพาน แต่ปัญหาของการ Slide สามารถออกแบบให้มี Side Guard ต้านไว้ แม้ว่าสายพานจะเสียดสีกับโครงสร้างแต่เนื้อสายพานก็แข็งแรงพอที่จะไม่แตกหักออกง่ายๆ


ขับเคลื่อนด้วยเฟือง(Sprocket) ระบบโพซิทีฟไดร์ฟ (Positive Drive)


2.2 Positive Lug Drive การขับโดยใช้เฟืองขับที่ปุ่ม(Lug) ที่ถูกกำหนดตำแหน่งไว้แล้วที่ท้องสายพาน สายพานแบบนี้มี Alignment ได้แม่นยำกว่าสายพานใน Positive Drive ข้อ 2.1 เพราะตัว Sprocket จะบังคับให้ปุ่มของสายพานไม่ให้เคลื่อนที่ออกด้านข้าง(Lateral Movement)ได้ อีกทั้งยังสามารถออกแบบไกด์เป็นตัวรองรับ(Carry Support)บังคับไม่ให้ปุ่มเคลื่อนที่ด้านข้าง(Lateral Movement)ได้ ดังนั้นจึงสามารถแก้ไขปัญหาการสไลด์(Slide)ด้านข้างจากการ Load สินค้าลงในแนวตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของสายพานได้


ขับเคลื่อนด้วยเฟือง(Sprocket)ล็อคตำแหน่ง ระบบ Positive Lug Drive


2.3 Positive Center Drive ใช้เฟืองขับ ณ.ตำแหน่งร่องกลาง(Center)ท้องสายพาน ลักษณะทำงานคล้ายกับสายพานไทม์มิ่ง (Timing Belt) สามารถกำหนดตำแหน่งการเคลื่อนที่ของสายพานได้อย่างแม่นยำและมี Alignment ที่ดีเยี่ยม สายพานประเภทนี้สามารถทำเป็นสาพานแอ่ง(Trough)ได้ เพราะปีกทั้ง2 ข้างขึ้นเป็นแอ่ง(Trough)ได้ ดังนั้นจึงสามารถเพิ่ม Capacity และป้องกันสินค้าตกจากสายพานได้


ขับเคลื่อนด้วยเฟือง(Sprocket)ตรงกลางสายพานระบบ Positive Center Drive



Trough Belt ปีกทั้ง2 ข้างยกขึ้นเป็นแอ่ง(Trough)ได้


2.เลือกตามคุณสมบัติและการใช้งานของ Homogeneous Conveyor Belt

สายพานประเภทนี้ Homogeneous Belt มีต้นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาและยุโรป เนื่องจากมีหลายบริษัทเป็นผู้ผลิต แต่ละบริษัทพยายามตั้งชื่อที่มันดูแล้วเท่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ ดังนั้นในบทความของเราจะแบ่งปันความรู้ล้วน ๆ จึงละเว้นไม่กล่าวถึงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง แต่ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าถ้าเรียกชื่อตามข้างล่างนี้ก็ถือว่าเป็นสายพานชนิดเดียวกันมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกัน คือ มี FDA กันน้ำมัน กันเชื้อรา กันสารเคมี สามารถใช้ร่วมกับระบบที่มี Metal Detector ได้ ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำสายพานหลักๆคือ TPU Standard และ TPU-Polyester (Anti-Hydrolysis/Anti-Microbial-กันเชื้อรา) ส่วนชื่อเรียกสายพานมีมากมายและจะมีเพิ่มขึ้นทุกวันตามผู้ผลิตรายใหม่ๆที่เข้าตลาดและจะตั้งขึ้นมาเอง เช่น Homogeneous belt, Positive Derive Belt, Extrude PU Belt ,Monolithic Belt, Super belt, Hygiene belt


ตัวอย่างชื่อเรียกสายพาน Homogeneous Belt ตามผู้ผลิตแต่ละรายที่ตั้งขึ้นมาเอง



ตัวอย่างคุณสมบัติ Product Line ของผู้ผลิตรายหนึ่ง



ตัวอย่างคุณสมบัติของวัสดุ Homogeneous Belt ของผู้ผลิตรายหนึ่ง



ตัวอย่างการใช้งานจริงสายพานวิ่งในแนวราบ



ตัวอย่างการใช้งานจริงสายพานวิ่งในแนวเอียง(Incline)


3.ข้อได้เปรียบของ Homogeneous Conveyor Belt

สายพานใน Generation ที่ 3 (Homogeneous Belt, Positive Derive Belt) ได้เอาข้อดีของสายพาน Generationที่ 1 (PVC/PUผิวเรียบทำความสะอากง่าย) และ Generationที่ 2 (Modular belt ใช้เฟืองขับสายพานไม่ Slip) มาประยุกต์ใช้งานทำให้สายพาน Generation ที่ 3 เป็นที่นิยมใช้งานมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการความสะอาดสูงสุด นอกจากนี้ยังสามารถตอบโจทย์การลำเลียงได้หลากหลาย เช่น หากต้องการใช้งานที่มีแรงดึงสูงก็สามารถเลือกใช้สายพานที่มีชั้นผ้าใบเสริมใบด้วยก็ได้ หรือต้องการใช้งานในทางเอียง (Incline)ก็สามารถติด บั๊ง (Cleat) หรือติด Sidewall ได้


ตัวอย่างตารางแสดงข้อได้เปรียบของ Homogeneous Conveyor Belt


4.จะสั่งซื้อ Homogeneous Conveyor Belt ต้องรู้ข้อมูลอะไรบ้าง


จะสั่งซื้อ Homogeneous Conveyor Belt ต้องรู้ข้อมูลอะไรบ้าง


คราวนี้ก็มาถึงประเด็นที่ผู้อ่านจะต้องสั่งซื้อสายพานประเภท Homogeneous Belt จะต้องรู้ข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อให้เข้าใจง่ายในการสั่งซื้อ คอนเวเยอร์ไกด์ ขอแบ่งสายพานออกเป็น 2 แบบ คือประเภทสายพานเรียบ(Flat belt) และประเภทสายพานติดบั๊ง(Cleat belt) หรือติด Sidewall

4.1.สายพานเรียบ(Flat belt) สิ่งที่ผู้สั่งซื้อจะต้องรู้และแจ้งผู้ขายคือ

1.หน้ากว้าง-ความยาวของสายพานที่ต้องการ หน้ากว้างก็ตรงไปตรงมา ถ้าเอาไปเปลี่ยนสายพานเส้นเดิมก็สามารถวัดระยะจากของเดิมได้ที่หน้างานเลย หรือถ้าออกแบบใหม่ก็สามารถสั่งสายพานให้มีหน้ากว้างตามขนาดที่ออกแบบได้ทันที หากต้องการผิวหน้าของสายพานเป็นแบบเรียบ(Flat)หรือแบบแพทเทิร์น มีลาย (Pattern) แบบไหน ก็แจ้งผู้ขายไปได้


ผิวหน้าสายพานแบบแพทเทิร์น (Pattern)ลายเม็ดข้าวและDiamond


2.ความยาว เมื่อวัดความยาวโดยประมาณแล้วจากของเดิมหรือจากการออกแบบแล้ว มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือสายพานต้องมีระยะหย่อน จึงต้องเผื่อความยาวสำหรับระยะปรับความตึง(Take Up) หรือไม่ หรือจะเผื่อระยะตกท้องช้าง (Catenary Sag)แค่ไหน ซึ่งต้องดูจาก Conveyor Lay Out ที่ออกแบบไว้ว่าต้องเผื่อระยะแค่ไหนอย่างไรเพิ่มเข้าเป็นความยาวที่จะสั่งซื้อด้วย



ตัวอย่าง Conveyor Lay Out ของสายพานบางประเภทสำหรับคำนวนความยาว


นอกจากนี้ต้องแจ้งรูปแบบการต่อสายพานให้ผู้ขายทราบด้วยเพราะจะมีผลกระทบกับการเตรียมงานต่อประกอบสายพานเข้าไลน์ Conveyor และงานประกอบอุปกรณ์ที่หน้างาน กล่าวคือ การเลือกวิธีต่อกลม(Endless)โดยต่อร้อน หรือต่อกิ๊ป (Mechanical Fastener) ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้งานตามสภาพหน้างาน เช่น ข้อดี การ ต่อกิ๊ป คือช่างที่โรงงานสามารถต่อเองได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรช่วย เมื่อสายพานส่งถึงหน้างาน ช่างนำปลายสายพาน 2 ข้างมาชนกัน ใช้แท่ง (Rod)โลหะหรือพลาสติ(ที่ผู้ขายต้องให้มาด้วยกับสายพาน)เสียบเข้าทะลุปลายสายพานใช้งานได้ทันที ข้อเสียคือรอยต่อไม่เรียบอาจจะสะดุดตอนใช้งาน และรอยต่อมีรูทำให้การทำความสะอาดได้ไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับการต่อแบบร้อนจากโรงงาน ส่วนการต่อกลม(Endless)แบบร้อนจากโรงงาน สายพานจะมีความแข็งแรงดีที่สุด สะอาดที่สุด สายพานเป็นเนื้อเดียวกัน ทำความสะอาดง่าย แต่จะมีความยุ่งยากตอนประกอบสายพานเข้าไลน์ Conveyor ที่ต้องรื้ออุปกรณ์ออกจากไลน์ Conveyor ก่อนนำสายพานประกอบกลับเข้าไลน์ Conveyor อีกครั้งหนึ่ง ผู้ซื้อจะต้องพิจารณาเอาเองว่า จะสั่งต่อแบบไหนถึงจะสะดวกและเหมาะสมกับงานตัวเองมากที่สุด


ตัวอย่างการต่อสายพาน รูปบนเตรียมงานก่อนต่อกลมจากโรงงานรูปล่าง 2 รูป ต่อกิ๊ป


3.ติดไกด์ (Guide/Profile) เพื่อสู้กับปัญหาสายพาน Slide หากต้องการติดไกด์(Guide) ก็ต้องแจ้งสเปคขนาดของไกด์(Guide/Profile) ตำแหน่งและระยะแน่นอน ดีที่สุดคือส่ง Drawing ให้ผู้ขายทราบด้วยเพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการสื่อสารทั้งปวงที่อาจจะเกิดขึ้น

4 เสริมผ้าใบ-ไม่เสริมผ้าใบ อันสุดท้ายแถมมานิดนึง ถ้าหากว่าต้องการสายพานแรงดึงสูงมาก ก็ต้องบอกผู้ขายด้วยว่าต้องการชนิดเสริมผ้าใบ ตรวจสอบแรงดึงของสายพานที่รับได้กับแรงดึงที่ออกแบบไว้ว่าสามารถรับแรงดึงได้หรือไม่


สายพานเสริมผ้าใบ(Aramid)ที่เห็นเป็นจุดในเนื้อสายพาน


4.2 สายพานบั๊ง (Cleat) และติด Sidewall สิ่งที่ผู้สั่งซื้อจะต้องรู้คือ

ประเด็นของ หน้ากว้าง-ความยาว ต่อกลม-ตัดยาว เสริมผ้าใบ-ไม่เสริมผ้าใบ จะเหมือนกับการเลือกหรือการสั่งในสายพานเรียบข้อ 4.1 แต่สิ่งที่จะต้องรู้เพิ่มขึ้นมาสำหรับ Conveyor ที่ใช้ในแนวเอียง(Incline) ซึ่งมักจะติดบั๊ง(Cleat ) ก็คือจะต้องระบุสเปค ขนาด(Size) รูปร่าง(Shape) ความหนา ความสูง ระยะห่างระหว่างบั๊ง ตลอดจนถ้าจะติด Sidewall ต้องแจ้งสเปคของ Sidewall เช่น ความสูงและระยะห่างจากขอบสายพานที่ต้องการ ระยะพวกนี้จำเป็นต้องแจ้งผู้ขายด้วย ซึ่งสามารถหาข้อมูลเหล่านี้จากเดต้าชีท(Data Sheet)หรือสอบถามกับผู้ขายได้


ตัวอย่างสเปคของ Guide / บั๊ง (Cleat) และ Sidewall



ตัวอย่างรูปร่างของ Guide / บั๊ง (Cleat) ประเภทหนึ่ง



ตัวอย่างต้องแจ้งระยะขนาดรูปร่างของ บั๊ง (Cleat) ประเภทหนึ่ง



Visitors: 77,539