จะซื้อสายพานยางดำ (Rubber Belt) ต้องรู้อะไรบ้าง

จะซื้อสายพานยางดำ (Rubber Belt) ต้องรู้อะไรบ้าง


1.บทคัดย่อ

เรื่องของสายพานลำเลียง(Rubber Conveyor Belt)หรือที่ประเทศไทยเรามีการพูดกันจนติดปากว่า " สายพานยางดำ " เรามักจะยกให้สายพานยางดำเป็นสายพานแบบใช้งานหนัก (Heavy Duty ) พัฒนาการและนำมาใช้งานเท่าที่มีการบันทึกมาใช้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1795 แต่ไม่รู้ว่ามีใครจัดระเบียบหรือแบ่งหมวดหมู่ให้เรียนรู้กันง่ายๆหรือยัง เท่าที่เราทราบคือ ยังมีไม่ชัดเจน และแน่นอนสำหรับความรู้ที่เป็นภาษาไทยก็ยังคงไม่มีและหายากเช่นเดิม ดังนั้นเพื่อให้ผู้เข้ามาเยือน website ของเรามีอะไรที่เข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับความรู้เรื่อง " สายพานยางดำ " (Rubber Conveyor Belt) ติดรอยหยักของสมอง เราจึงขออาสาจัดระเบียบเองเลยก็แล้วกัน อาจจะผิดแผกแตกต่างจากชาวบ้านไปมั่งแต่รับรองได้ของแท้ๆ เนื้อหาไม่มั่วแน่นอน จุดประสงค์ของบทความนี้ก็พยายามจะแยกแยะเรื่อง " สายพานยางดำ " ให้ผู้ใช้งานในบ้านเราสามารถเลือกใช้ได้ง่ายๆให้ถูกต้องตามการใช้งานที่เหมาะสมของตนเอง...เชิญติดตามได้โดยพลัน


2.จุดประสงค์ เมื่ออ่านบทความนี้จบเราคาดหวังว่าท่านจะมีหลักสามารถเลือกประเภทของสายพานให้ถูกต้องตามความเหมาะสมกับการใช้งานของท่านได้


3.หลักการเลือกสายพาน(Belt Selection) เมื่อผู้อ่านต้องการจะซื้อสายพานยางดำไปใช้งานจะต้องรู้ 3 เรื่องซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือก

• ข้อที่ 1เลือกผิว(Cover Rubber) ของสายพานให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่สายพานนั้นทำงาน

- สายพานทำงานในสิ่งแวดล้อมสภาพบรรยากาศใช้งานทั่วไป(General use) ความเสียหายของสายพานเกิดจากผิวของสายพานสึกหรอ(Abrasion) และเสียหายจากการกระแทก(Impact)เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทนร้อนเกิน 80 องศาเซลเซียส ทนน้ำมัน หรือทนสารเคมีต่างๆ เลือกใช้สายพานทนสึก (Wear resistance belt)ที่มีความสามารถในการทนความสึกหรอได้หลายเกรดซึ่งจะได้นำเสนอในบทความชิ้นต่อไป

- สายพานทำงานในภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปรกติเช่น มี ความร้อน มีน้ำมันหรือสารเคมี หรือต้องการสายพานที่มีคุณสมบัติของพิเศษอื่นๆ เช่นทนไฟ ป้องกันไฟฟ้าสถิต หรือสายพานสำหรับลำเลียงอาหารเป็นต้น


การเลือกผิว(Cover Selection) “ สายพานยางดำ ”


ผิวสายพาน (Cover Rubber) มีหน้าที่รองรับวัสดุและป้องกันไม่ให้ชั้นผ้าใบของสายพานเกิดความเสียหายจาก แรงกระแทก การเจาะทะลุ หรือจาก น้ำมัน ความร้อน สารเคมี ผิวสายพาน (Cover Rubber) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 2 ประเภท

1.ประเภทใช้งานทั่วไป (General Use Conveyor Belt) หรือเรียกกันว่า สายพานทนสึก (Wear Resistance Conveyor Belt) หมายถึงสายพานที่ใช้งานใน สภาพบรรยากาศทั่วไป ความเสียหายมีเฉพาะเกิดจาก ผิวนอกของสายพานจะค่อยๆบางลงจากการ ขัดสีหรือขัดถูกับวัสดุที่ลำเลียง โดยไม่มีความเสียหายเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปกติเช่น ร้อนมากเกินกว่า 80 °C มีน้ำมัน หรือมีสารเคมี และสารอื่นๆ ที่ทำให้ผิวนอกของสายพานเสียหายเป็นต้น


ผิวของสายพาน (Rubber Cover) แบบเรียบ


2.ประเภทใช้งานแบบพิเศษ (Special Conveyor Belt) ซึ่งคำว่าพิเศษนี้หมายความว่ามีคุณสมบัติพิเศษมากมายหลายแบบเช่น

- Heat Resistant Conveyor Belt (สายพานทนร้อน)

- Oil /Fat/Grease Resistant Conveyor Belt (สายพานทนน้ำมัน/ไขมัน/จาระบี)

- Flame Resistant Belt (สายพานทนเไฟ)

- Cold Resistant Belt (สายพานทนความเย็น)

- Chemical Resistant Conveyor Belt. (สายพานทนสารเคมี)

- Antistatic (สายพานมีคุณสมบัติป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิตย์)

- Food Grade (สายพานสำหรับลำเลียงอาหาร)


สายพานทนร้อนลำเลียงคิงเกอร์ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์


• ข้อที่ 2 เลือกสายพานซึ่งมีผ้าใบหรือเส้นลวดสามารถทนกับแรงดึง(Tension) ที่เกิดขึ้นในระบบได้โดยไม่ขาด วัสดุที่ใช้รับแรง(Carcass) สำหรับสายพานลำเลียง ทำได้จากวัสดุหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันจะทำจากผ้าใบ(Fabric) และเส้นลวด(steel Cord)


การแบ่งชนิดของสายพานตามวัสดุที่ใช้รับแรงดึง


วัสดุที่ใช้รับแรง (Tension Member) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt)วัสดุรับแรงหมายถึงวัสดุที่รับแรงดึง (Tensile) ของสายพานในแนวยาว(Longitudinal) แบ่งได้หลายชนิดแต่จะคัดเอาที่ฮิตๆใช้กันก็จะมี 2 ประเภท

2.1สายพานผ้าใบ (Fabric Conveyor Belt) ซึ่งวัสดุที่ใช้รับแรง (Tension Member) ทำด้วยวัสดุต่างๆชนิดกัน แต่เรียกรวมๆกันว่าผ้าใบ เช่น Cotton, Nylon, EP(Polyester/ Nylon) หรือเรียกอีกอย่างว่า PN,และKevlar(Aramid),Fiberglass เป็นต้น


โครงสร้างของสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ



รูปหน้าตัดโครงสร้างของผ้าใบในสายพานลำเลียง


2.2 สายพานลวดสลิง (Steel Cord Conveyor Belt) คือ สายพานที่มีวัสดุรับแรง(Tension Member) เป็นเส้นลวดเหล็ก (Steel cord) นิยมใช้กับสายพานที่มีแรงดึงสูงยกตัวอย่างเช่นสายพานที่มี ST 2500 มีค่าแรงดึงเท่ากับสายพานผ้าใบที่มีชั้นผ้าใบ 10 ชั้นแต่ละชั้นสามารถรับแรงดึงได้ 250 นิวตันต่อมิลลิเมตร เป็นต้น


สายพานเส้นนี้คือ ST 2500 รับแรงดึงได้ 2500 N/mm.



โครงสร้างของสายพาน Steel Cord


• ข้อที่ 3 เลือกลาย (Pattern Shape) ผิวหน้าของสายพานให้เหมาะสมกับองศาความเอียง (Incline)ของคอนเวเยอร์ที่สามารถลำเลียงวัสดุขึ้นไปได้ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด(Lump Size) และความชื้นของวัสดุ ที่มีผลต่อแรงเสียดทาน (Friction) ระหว่างวัสดุและผิวของสายพาน ปกติแล้วสายพานผิวหน้าเรียบ(Flat/Smooth) จะลำเลียงวัสดุ (Bulk Material) ขึ้นได้ในแนวเอียงสูงสุด 15-20 องศาแต่ถ้ามุมเอียงสูงกว่านั้นจะต้องใช้สายพานที่มีผิวหน้าติดบั๊ง (Pattern/Cleat) ซึ่งมีความสูงของบั๊งตั้งแต่ 5-32 มม.ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม


รูปกราฟฟิกแสดงรูปถ่ายของสายพานประเภทต่างๆ


ลักษณะของผิวหน้า (Rubber Cover Surface) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้หลายชนิดแต่จะคัดเอาที่ฮิตๆใช้กันก็จะมี 3 ประเภท

3.1 แบบผิวหน้าเรียบ (Plain Surface) ใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงเล็กน้อยใช้ในงานทั่วๆไป ในประเทศไทยเราน่าจะใช้สายพานแบบนี้มากกว่า 80%ประเภท


สายพานเส้นนี้ผิวหน้าเรียบ


3.2 แบบผิวหน้าบั๊ง (Pattern Surface) มีได้หลายลักษณะ(Pattern) เรียกรวมๆว่าก้างปลา บนแผ่นสายพานจะมีสัน (Cleat) นูนขึ้นมาจากแผ่นสายพานสูง ตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรถึง 32 มิลลิเมตร ใช้ลำเลียงวัสดุในแนวเอียง(Incline)ได้ดีกว่าแบบผิวเรียบตั้งแต่ 2-6 องศา แต่ราคาก็แพงกว่าแน่นอน ก่อนซื้อท่านต้องรู้มุมกองวัสดุเสียก่อนโดย ลองเอาวัสดุมากองบนพื้นแล้วดูว่ามุมกองสูงเท่าไหร่ ถ้ามุมเอียงของระบบสายพาน(Conveyor System) มีมากว่า มุมกองวัสดุๆจะไหลกลับแน่ๆ เดี๋ยวเสียเงินฟรีๆ




ผิวหน้าบั้ง (Pattern Surface)รูปแบบต่างๆ



การเลือกผิวสายพาน(cover Surface) ตามความเอียงของคอนเวเยอร์


3.3 มีผิวหน้าพิเศษหรือมีโครงสร้างแบบพิเศษ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น Sidewall Belt และ Pipe conveyor Belt เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องพิเศษอย่างที่กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนนี้ว่า เราจะไม่ลงลึกในเนื้อหาแต่หากท่านใดอยากรู้หรือมีการใช้งานที่แปลกๆ จะใช้สายพานประเภทไหนดีถึงจะเหมาะ หลายๆประเภทไม่มีการผลิตในประเทศไทย หาที่ไหนไม่ได้ถามใครก็ไม่มีคำตอบลองสอบถามเราได้เลยครับ “ท่านกล้าซักไซ้..Conveyor Guide ก็กล้าตอบ”


การเลือกผิวสายพานตามความเอียงของคอนเวเยอร์



รูปกราฟฟิกแสดงประเภทของสายพานที่ความเอียงต่างๆกัน





โครงสร้างของ SIDEWALLBELT



Sidewall Beltขณะทำการติดตั้ง



Pipe Conveyor Belt



4.การเขียน Specification ของสายพานที่ถูกต้อง

เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในการซื้อขายสายพานป้องกันการเข้าใจผิด จึงจำเป็นจะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดสเปคของสายพาน (Belt specification) ตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างการสั่งซื้อสายพานแบบทนสึก (Wear Resistance belt) เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้เอาไปใช้งานได้ต่อไป


ตัวอย่างการเขียน Specification ของสายพานที่ถูกต้องครบถ้วน


5.บทสรุป

เมื่ออ่านบทความนี้จบท่านจะสามารถเลือกได้ว่า

1.ท่านจะใช้สายพานที่เป็นแบบชั้นผ้าใบหรือสายพานที่เป็นเส้นลวด

2.และท่านจะเลือกผิวหน้าของสายพานเป็นแบบทนสึกทั่วไปหรือเป็นแบบพิเศษแบบไหนให้เหมาะสมตามสิ่งแวดล้อมของการใช้งาน

3.เมื่อสั่งซื้อสายพานท่านจะสามารถกำหนดและเขียนสเปคได้อย่างถูกต้อง

ถ้าเข้าใจและเลือกได้แค่นี้ก็ถือว่าสอบผ่านแล้วครับ ขอจบบทความตอน ไว้เท่านี้ก่อน ตอนต่อไปต้องอ้างถึงเรื่องราวของตอนที่ 2 บ่อยๆ ให้ Print เก็บไว้เป็น Referenceเวลาจะอ่านตอนต่อไปจะได้เข้าใจได้ง่ายๆ... ชิวๆ.... ไม่งง........ สวัสดีครับ


Visitors: 78,181