belt conveyor system 2

2.ลูกกลิ้งรับภาระ(Carrying Roller) รับน้ำหนักสายพานและน้ำหนักของวัสดุลำเลียง


Carrying Roller รูปแบบต่าง ๆ



Return Roller รูปแบบต่าง ๆ



Return roller แบบพิเศษลดเศษวัสดุเกาะสายพาน



Self-Aligning Roller แบบพิเศษป้องกันขอบสายพานเสียหาย


5.3 รูปแบบการวางลูกกลิ้ง

ในระบบลำเลียงการวางลูกกลิ้งนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นก็มีเหตุผล มีความแตกต่าง รูปแบบการวางลูกกลิ้งมีดังนี้

1.Troughing 3 Rollers ใช้สำหรับลำเลียงวัสดุปริมาณมวล (Bulk Load) ประกอบด้วยลูกกลิ้งวางเป็นมุมแอ่ง(0-45 องศา)จำนวน3ลูกในหนึ่งเซ็ต เลือกใช้ขึ้นอยู่กับอัตราลำเลียง(Capacity)และชนิดของวัสดุที่ใช้ลำเลียง ส่วนใหญ่ในประเทศไทย 80% มักจะใช้รูปแบบการวางแบบนี้


Troughing 3 Rollers รูปแอ่งตั้งแต่ 0-45 องศา


2.Troughing 5 Rollers ใช้สำหรับลำเลียงวัสดุปริมาณมวล (Bulk Load) ประกอบด้วยลูกกลิ้งจำนวน 5 ลูกในหนึ่งเซ็ต ใช้กับระบบลำเลียงที่อัตราลำเลียงมากและวัสดุลำเลียง(Capacity)มีน้ำหนักเยอะ เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่


Troughing 5 Rollers


3.Single Roller Flat Carry Roller เป็นลูกกลิ้งลูกเดียวด้านรับภาระ(Carry Idler) เหมาะสำหรับลำเลียงวัสดุที่เป็นประเภท Unit Load เช่น ลัง กระสอบ กล่อง เป็นต้น


Single Roller Flat Carry Roller


4.Single Roller Flat Return เป็นลูกกลิ้งลูกเดียวรับน้ำหนักสายพานด้าน Return


Single Roller Flat Return


5.Two Roll V Return Rollers เป็นลูกกลิ้งด้านสายพานด้านกลับ(Return) แบบ2ลูกทำมุมเอียงเพื่อช่วยให้สายพานเดินตรงแนวเหมาะกับสายพานที่เดิน2ทาง


Two Roll V Return Rollers


6.Picking Roller ใช้กับสายพานตรงช่วงป้อน(Loading Area)วัสดุสำหรับการลำเลียงแบบมวลปริมาณ (Bulk Load) เพื่อป้องกันวัสดุหล่นด้านข้างโดยไม่ต้องติดตั้ง Skirt Rubber และทำให้มี อัตราลำเลียง(Capacity)มากกว่าแบบ Single Roller Flat Carry Roller


Picking Roller


7.Two Roll Troughing Roller ใช้กับสายพานหน้ากว้าง 300-600 mm. หรือระบบลำเลียงที่มีค่าอัตราลำลียง(Capacity)ไม่สูงมาก การวางลูกกลิ้งลักษณะนี้ต้องคำนึงถึงมุมเอียงของลูกกลิ้งและจำนวนชั้นผ้าใบของสายพาน (อย่าเลือกสายพานที่หนามากเกินไปหรือสายพานที่มีชั้นผ้าใบเยอะเกินไปจะทำให้สายพานไม่สามารถห่อตัวเข้าในแอ่งสายพานได้)


Two Roll Troughing Roller


5.4 การเลือกรูปแบบการวางลูกกลิ้งขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

1.อัตราการขนถ่ายของวัสดุลำเลียง

2.ลักษณะของระบบลำเลียง

3.หน้ากว้างของสายพาน

4.น้ำหนักอื่น ๆนอกเหนือจากโครงสร้าง เช่น น้ำหนักวัสดุลำเลียง น้ำหนักคนซ่อมแซม เป็นต้น

5.ความสามารถในการคงรูปแอ่งของสายพานลำเลียง

6.พื้นที่หรือข้อจำกัดในการติดตั้ง

7.คุณสมบัติของวัสดุ เช่น ความถ่วงจำเพาะ มุมกองวัสดุ เป็นต้น

บทที่ 4 Motor and Gear

มอเตอร์คือ เครื่องต้นกำลังหรือให้กำเนิดพลังงานในการขับเคลื่อนระบบลำเลียง อุปกรณ์ที่ใช้ในการขับสายพานลำเลียงประกอบด้วย มอเตอร์ อุปกรณ์ในการลดความเร็ว และเพลาขับ รวมถึงกลไกที่จำเป็นในการส่งกำลัง

1. รูปแบบการวางอุปกรณ์ขับสายพานลำเลียง


มอเตอร์และเกียร์ต่อกันแบบตรง ติดตั้งง่าย ประหยัด ทนทาน อุปกรณ์เชื่อมต่อน้อย



มอเตอร์และเกียร์ต่อตรงวางขนานกับสายพาน ใช้เมื่อมีพื้นที่ติดตั้งจำกัด



มอเตอร์เกียร์ใช้โซ่ทดกำลังไปยังเพลาขับ เป็นราคาถูก



มอเตอร์เกียร์แบบเพลาขนานต่อไปยังเพลาขับ คล่องตัวและบำรุงรักษาง่าย



มอเตอร์เกียร์แบบเพลาขนานใช้โซ่ทดกำลังไปยังเพลาขับ



เกียร์แบบชุดเฟืองหนอนต่อไปยังมอเตอร์และโซ่ขับส่งกำลังไปยังเพลาขับ การวางแบบนี้จะได้อัตราทดที่สูงแต่จะได้กำลังขับประสิทธิภาพต่ำ



มอเตอร์และชุดส่งกำลังแบบสายพานวี (V-Belt) สามารถเปลี่ยนอัตราทดได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่แต่ได้อัตราทดน้อย


2.ประสิทธิภาพการขับ

ในการกำหนดกำลังขับต่ำสุดที่มอเตอร์ขับที่เพลาขับ ต้องหาประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นทั้งหมดของชุดส่งกำลัง หาได้จากการนำประสิทธิภาพในแต่ละหน่วยอุปกรณ์คูณเข้าด้วยกัน

ตารางแสดงประสิทธิภาพกลไกของเกียร์แต่ละแบบ

ชนิดของเกียร์ ประสิทธิภาพ
มู่เลย์ร่องและสายพานวี(V-Belt) 0.94
เฟืองโซ่และล้อเฟืองไม่มีกำบัง  0.93
 เฟืองเฉียงทางเดียวหรือเฟืองก้างปลา   0.95
เฟืองเฉียงสองทาง  0.94
เฟืองเฉียงสามทาง  0.93
เฟืองเฉียงคู่ลดความเร็ว ลดความเร็วเพลา  0.94
เฟืองหนอน อัตราทดน้อยกว่า20:1  0.90
เฟืองหนอน อัตราทดระหว่าง 20:1 ถึง 60:1  0.70
เฟืองหนอน อัตราทดระหว่าง 60:1 ถึง 100:1  0.50
เฟืองกัดตรง  0.90
เฟืองหล่อตรง  0.85
เฟืองโซ่และล้อเฟืองแบบมีน้ำมันหล่อ  0.95

3.ชุดปรับตั้งสายพาน

ชุดปรับตั้งสายพานคือ ระบบที่ไว้ใช้สำหรับปรับความหย่อน ความตึง ของสายพานโดยจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ 3.1 แบบสกรูเป็นชุดปรับตั้งสายพานสำหรับสายพานที่มีระยะสั้นๆ


Screw Take Up


3.2 แบบถ่วงน้ำหนัก(Gravity take Up)


Gravity take Up


ชุดปรับตั้งแบบถ่วงน้ำหนัก(Gravity take Up) ใช้สำหรับสายพานที่มีความยาวมาก โดยจะแยกออกเป็น2แบบคือ แบบแนวราบและแนวดิ่ง

3.3 แบบระบบปรับความตึงอัตโนมัติ(Automatic take Up)ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติเข้ามาช่วย ใช้งานง่ายและมีความแม่นยำในการปรับความตึง


ระบบปรับความตึงอัตโนมัติ(Automatic take Up)


Tripper ทริปเปอร์ คือ อุปกรณ์ที่ติดอยู่กับระบบสายพานลำเลียง (ซึ่งจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน) ทริปเปอร์จะใช้งานในกรณีต้องการการจ่ายวัสดุหลายจุด กล่าวคือ สายพานทั่วไปจะลำเลียงวัสดุจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้าย แต่ทริปเปอร์สามารถจะนำพาวัสดุไปจ่ายตรงตำแหน่งไหนก็ได้ เพื่อที่จะนำวัสดุนั้นไปเก็บรักษาหรือนำไปเข้ากระบวนการผลิตอื่น




Tripper ทริปเปอร์อุปกรณ์จ่ายวัสดุออกด้านข้างได้


------------ จบบทความตอนนี้-----------


Visitors: 78,618