introduction 5

5.Belt Speed Selection การเลือกความเร็วของสายพาน


คอนเวเยอร์ไกด์ไปดูหน้างานนำประสบการณ์ดีๆมาแบ่งปัน (ภาพ โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน)


1.ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกความเร็วสูงสุดของสายพาน(Maximum Belt Speed)

การเลือกความเร็วของสายพานขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น หน้ากว้างของสายพาน ลักษณะจำเพาะของวัสดุ วิธีการทำงาน สิ่งแวดล้อม ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้หากเลือกความเร็วที่มากเกินไปตลอดจนอัตราการประหยัดพลังงานที่ได้จากการเลือกใช้ความเร็วที่เหมาะสม การเลือกความเร็วของสายพานขึ้นอยู่กับลักษณะจำเพาะของวัสดุ(material characteristics) ที่ลำเลียงบนสายพานเป็นหลัก และขึ้นอยู่กับหน้ากว้าง(Belt Width) ของสายพาน แรงดึง(Belt tension) ลักษณะการโหลด(Load)และอันโหลด(Unload) ของเครื่องมือเครื่องจักรในระบบลำเลียง นอกจากนี้แล้วยังต้องพิจารณาเรื่องเงินลงทุน(Capital Cost) ลักษณะการทำงาน(Operating Conditions)ในหน้างาน การบำรุงรักษา ซึ่งข้อมูลที่เป็นด้านเทคนิคต่างๆเหล่านี้จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนเลือกความเร็วของสายพาน ตารางข้างล่างเป็นความเร็วสูงสุดของสายพานที่แนะนำ รวบรวมให้ผู้อ่านได้พิจารณากันเองทั้งจากค่าย อเมริกาญี่ปุ่น เยอรมัน เกาหลี เอาตามสะดวกก็แล้วกันนะครับ


Recommended Maximum Belt speed( Ref: CEMA)



Recommended Maximum Belt speed(Ref: Bridgestone)



Recommended Maximum Belt speed (Ref: Exwill Korea)



Recommended Maximum Belt speed(Ref: Bridgestone)



Recommended Maximum Belt speed(Ref: Contitech)



Recommended Maximum Belt speed(Ref: Dunlop)



Standard Value of Belt speed(Ref: Dunlop)


2.เมื่อไหร่ควรออกแบบให้สายพานวิ่งด้วยความเร็วสูง

1.เมื่อคอนเวเยอร์(Conveyor Length)มีความยาวมากประมาณ 1,500 เมตรขึ้นไป

2.วัสดุที่ลำเลียงควรมีก้อนขนาดไม่ใหญ่

3.วัสดุที่มีลักษณะเป็นเม็ด(Granular) ผิวมัน(smooth) ไหลง่าย(free Flow) เช่นถั่วเหลือง ถั่วเขียว เมล็ดข้าว เมล็ดโพดข้าว

4.วัสดุไม่เป็นฝุ่นฟุ้งกระจาย

5.วัสดุไม่แหลมคมและมีคุณสมบัติในการขัดสี(Abrasive) มากเกินไป

6.ตำแหน่งโหลด(Load)และอันโหลด(Unload)จะต้องออกแบบอย่างดี วัสดุจะต้องโหลด(Load) ในแนวเดียวกับสายพานเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับความเร็วของสายพาน

3.ข้อดีของการออกแบบสายพานวิ่งด้วยความเร็วสูง

1.ประหยัดต้นทุนการก่อสร้าง(Capital Cost)ได้มากกว่า เพราะใช้สายพานหน้าแคบแต่วิ่งเร็วทำให้ได้ปริมาณการขนถ่ายเท่ากับใช้สายพานหน้ากว้างแต่วิ่งช้า

2.มีแรงดึงจะน้อยกว่า ดังนั้นใช้สายพานที่มีชั้นผ้าใบน้อยกว่าและใช้พลังงานสิ้นเปลืองน้อยกว่า

4.ข้อเสียของการออกแบบสายพานวิ่งด้วยความเร็วสูง

ถ้าสายพานวิ่งด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วสูงสุด(Over Maximum speed)ที่แนะนำ อาจจะเกิดปัญหาที่ไม่พึงปรารถนาเช่น

1.ความเสียเสียหายและสึกหรอของอุปกรณ์และสายพานจะมากกว่า

2.การร่วง-หก-ตกหล่นของวัสดุ

3.เกิดความปั่นป่วนของวัสดุที่ Loading Area

4.เกิดฝุ่นฟุ้งกระจายขณะลำเลียง

5.วัสดุอาจจะแยกส่วนกัน(Degrade)

6.สายพานและชุดและอุปกรณ์ลำเลียงจะเสียหายได้ง่ายและรวดเร็ว

ความเร็วที่แนะนำในการออกแบบควรมีค่าน้อยกว่า MAXIMUM SPEED ประมาณ 0.5 ถึง 1.5 เมตร/วินาที

5.เมื่อไหร่ควรออกแบบให้สายพานวิ่งด้วยความเร็วต่ำ

• เมื่อวัสดุที่มีขนาดเล็ก(Find material) น้ำหนักเบา หรือเป็นฝุ่นผง(Powder)ซึ่งฟุ้งกระจายได้ง่ายเช่น Soda Ash ความเร็วของสายพานจะต้องต่ำเพียงพอที่จะลดฝุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ loading Point และ Discharge Point

• เมื่อวัสดุมีความเปราะบาง(Fragile) แตกง่าย ความเร็วของสายพานจะต้องไม่ทำให้วัสดุแตกเสียหาย ไม่แยกชั้นกันที่ Loading Point และ Discharge Point หรือขณะที่สายพานวิ่งไปกระทบกับ Carry Roller

• เมื่อวัสดุที่มีน้ำหนักมากแหลมคม(Sharp Edge) ก้อนใหญ่(Big Lump) สายพานต้องเคลื่อนที่ช้าเพื่อวัสดุเหล่านั้นจะไม่ทำให้สายพานเสียหายง่ายโดยเฉพาะขณะที่ Loading

• เมื่อวัสดุที่เป็นวัสดุอันตราย(Hazard) เมื่อร่วง-หก-ตกหล่นออกจากสายพานหรือเกิดฝุ่นที่เป็นอันตราย เช่นการลำเลียงถ่านหิน (Pulverized Coal)ในโรงไฟฟ้าเป็นต้น


ถ่านหินเป็นวัสดุที่มีอันตรายไม่ควรให้รั่ว หก ตกหล่น ออกจากสายพาน



Visitors: 74,000