การบำรุงรักษายางหุ้มมู่เล

Maintenance of Rubber Lagging ( การบำรุงรักษายางหุ้มมู่เล )

pulley จัดว่าเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญในระบบสายพานลำเลียง ( Belt Conveyor System ) ถ้าหากมู่เลมีปัญหา ก็จะมีผลกระทบต่ออุปกรณ์อื่นๆ ในระบบอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดูแลมู่เล ( ในที่นี้จะเน้นถึงยางหุ้มมู่เล ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมากกว่าวัสดุหุ้มชนิดอื่นๆ เช่น Ceramic หรือ Fabric หรือวิธีใช้ Spray สารเคลือบผิวมู่เล ) ให้ดีเช่นเดียวกับ Component อื่นๆไม่ว่าจะเป็นสายพาน ( Belt ) ลูกกลิ้ง ( Roller ) มอเตอร์ ( Motor ) Gearbox หรืออุปกรณ์ทำสะอาดสายพาน ( Belt Cleaner )

เคล็ดลับการยืดอายุการใช้งานของยางหุ้ม Pulley ให้ยาวนานที่สุด

การที่ยางหุ้มมู่เล ( Pulley ) จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะการใช้งานในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ( Operational Environment ) คุณภาพของยางหุ้ม ( Rubber Quality ) และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหุ้ม ( กาว-น้ำยาต่างๆ ) และขั้นตอนการหุ้ม ( Procedure ) ที่ถูกต้องตลอดจนฝีมือในการหุ้ม ( Workmanship ) ของช่างว่าทำได้ตาม Procedure ที่วางไว้ได้หรือไม่ เมื่อหุ้มเสร็จแล้วก็ต้องหมั่นตรวจสอบว่าการใช้งานของ Pulley นั้นถูกต้องตามวิธีปฏิบัติที่ดี ( Good Manner ) หรือไม่ ดังนั้นการตรวจสอบการใช้งานของระบบสายพานอยู่เป็นประจำและแก้ไขสิ่งที่บกพร่องทันทีที่เห็นในครั้งแรก จะช่วยให้ Pulley หรือยางที่หุ้ม Pulley มีอายุการใช้งานได้ยาวนานที่สุด ( Optimum Life )หมั่นตรวจสอบดูแลระบบ Conveyor ทำงานอย่างถูกต้อง สาเหตุที่ทำให้ Pulley เสียหายมีอยู่ 2 ประการคือ

1) สายพานลื่น (Slip)

2) วัสดุ (Build up Material) ติดระหว่างสายพาน (Belt) และมู่เลย์ (Pulley)

ข้อแนะนำข้างล่างนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุที่ไม่พึงประสงค์ และช่วยยืดอายุการใช้งานของยางหุ้ม Pulley ได้

1) ข้อที่ควรปฏิบัติให้เป็นประจำ

1.1 ตรวจสอบน้ำหนักของ Take-up ให้เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้สายพานลื่น ( Belt Slip ) ที่ Drive Pulley ขณะเริ่ม ( Start ) เดินเครื่อง

1.2 เมื่อเกิดสภาวะสายพานลื่น ( Slip ) อย่าพยายามแก้ไขโดยใช้สามัญสำนึกของตัวเองบนความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ทรายหรือวัสดุอื่นใดสาดเข้าไปบริเวณที่เกิดการ Slip
การทำเช่นนั้นยังเป็นการเพิ่มความเสียหายให้ยางหุ้ม Pulley มากยิ่งขึ้น

1.3 อย่าเพิ่ม Load ให้ระบบมากเกินความจำเป็น เพราะการ Overload จะเป็นการเพิ่ม Torque ให้สายพาน ซึ่งจะมีผลทำให้สายพานลื่น ( Slip ) ที่ Drive Pulley ขณะ Start ได้

1.4 ติดตั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดสายพาน ( Belt Plough ) ในด้าน Return ก่อนถึง Tail Pulley เพื่อช่วยทำความสะอาดสายพานด้าน Return ไม่ให้มีวัสดุ ( Lumpy Material )
เข้าไปติดระหว่างสายพานและ Tail Pulley ซึ่งจะทำให้ยางหุ้ม Pulley เสียหายและฉีกขาดเป็นจุดๆได้ ( Local Damaged )

1.5 ตรวจสอบให้แน่ใจว่า Pulley ติดตั้งได้อย่างตรงแนว ( Correct Aligned )ทั้งนี้เพื่อทำให้ การสึกหรอของยางหุ้ม เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตลอดผิวหน้า

1.6 ตรวจสอบ Screw take-up ว่ามีความตึงที่เหมาะสม

1.7 ป้องกันอย่าให้วัสดุ ร่วง หก ตก หล่น ( Spillage ) บนสายพานด้านกลับ ( Return Belt ) เพื่อที่จะให้ Pulley สัมผัสกับสายพานที่สะอาดที่สุดขณะที่ทำงาน

1.8 ติดตั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดสายพาน ( Belt Cleaner ) เพื่อที่จะลดวัสดุ ( Carry Back ) ที่จะติดตาม Bend และ Snub Pulley

1.9 เมื่อเห็นมีวัสดุ ร่วง หก ตก หล่น ( Spillage ) ไม่ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งใดๆ อย่าเพิกเฉยให้หาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว

2) ตรวจสอบและมีมาตรการแก้ไขอย่างทันท่วงที

2.1 จัดให้มีการตรวจสอบ ( Inspect ) สภาพของยางหุ้ม Pulley อย่างสม่ำเสมอ

2.2 เมื่อพบยางหุ้ม Pulley เสียหายเป็นจุดๆ ( Local Damage ) ให้รีบซ่อมแซม ก่อนที่ความเสียหายจะลุกลามไปยังส่วนอื่นๆเพิ่มขึ้น

2.3 เมื่อจำเป็นต้องหุ้ม Pulley ใหม่ ต้องเลือกใช้ผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ในการหุ้ม Pulley มาแล้วมาทำงาน เพราะการหุ้ม Pulley มีขั้นตอนปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่ใครที่ไหนจะทำได้โดยไม่ผ่านงานมาก่อน

2.4 จัดให้มี Pulley สำรอง ( Spare Pulley ) ในกรณีที่ Pulley ที่ใช้งานอยู่เสียหาย และต้องถอดออกไปซ่อม หรือหุ้มยางใหม่

2.5 Pulley ที่หุ้มแบบหุ้มเย็น ( Cold Banding ) เมื่อหุ้มเสร็จแล้วควรปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อยประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อให้กาวเกิดปฏิกริยา set ตัว แข็งแรงเต็มที่สียก่อนจึงเริ่มใช้งาน กรณีนี้พบเจอได้บ่อยมากในกรณีที่ต้องหุ้ม Pulley ใน Line ที่หน้างานโดยไม่ต้องถอดลูก Pulley ออกมาข้างนอก พอหุ้มเสร็จแล้วผู้ใช้งานมักจะรีบใช้งานทันที โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจทำให้ยางหุ้ม Pulley หลุดร่อนออกมาได้ กรณีอย่างนี้ก่อให้เกิดปัญหาบ่อยๆ ระหว่าง เจ้าของงานกับผู้ให้บริการว่าใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


Visitors: 78,011