Top Chain Series และการใช้งาน
ตอน 3.Top Chain Series และการใช้งาน Top chain series และวัสดุที่แสดงอยู่ในบทความนี้เป็นวัสดุพื้นฐานที่ใช้ในงานทั่วไปเท่านั้น ในปัจจุบันผู้ผลิตหลายรายได้ผลิตทั้งโลหะและพลาสติกให้มีคุณสมบัติพิเศษย่อยลงไปอีกอย่างมากหลายประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะอย่าง หากต้องการการใช้งานในลักษณะพิเศษให้ติดต่อกับผู้ขาย Top Chain ยี่ห้อนั้นๆและขอรายละเอียดของวัสดุจากผู้ขายได้ ส่วนมัลติเพล็กซ์เชน (Multiflex Chain)หรือบางครั้งก็เรียก Flexible chain เป็นสายพานที่วิ่งได้ในหลายระนาบมี ความแข็งแรง(Strength) มากกว่า Top Chain ธรรมดา ใช้ในคอนเวเยอร์ที่มีความยาวมาก(Long Conveyor Length) บางครั้งก็ใช้เป็น Buffer Conveyor คดเคี้ยงเลี้ยวไป-มา เรียก Alpine Conveyor หรือ Serpentine Conveyor หรือใช้ในคอนเวเยอร์ที่ลำเลียงกล่องที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้แต่จะหาโอกาสนำเสนอในครั้งต่อไป ส่วนเรื่องการเรียก Series หรือระหัสของ Top chain ว่ามีที่ไปที่มาอย่างไรผู้เขียนขอสารภาพว่าไม่ทราบจริงๆใครมีข้อมูลก็ต้องขอรบกวนแบ่งปันให้พวกเราด้วย
เพื่ออธิบายให้เข้าใจเรื่อง Top Chain ง่ายๆ เราจะแบ่งประเภทของ Top Chain เป็น 2 แบบ คือ Standard Top Chain ส่วนแบบที่ 2 พัฒนาจากแบบแรก เรียกว่า Multiflex Top Chain (ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้)
ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง Standard Top Chain วัสดุที่นำมาผลิตเป็นตัวโซ่หรือตัวสายพาน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภทแรกเป็นสายพานโลหะซึ่งวัสดุพื้นฐานเป็นเหล็กและสแตนเลส ประเภทที่ 2 เป็นพลาสติก(ส่วนมากผลิตเป็น POM สีน้ำตาล) ทั้ง 2 ประเภทสามารถวิ่งได้ทั้งแนวตรงและแนวโค้ง นำมาใช้งานได้ทั้งแบบ Light Duty และ Heavy Duty ซึ่งจะมีรุ่น (Series)ที่เหมาะสำหรับใช้งานเบาและรุ่น (Series)ใช้งานหนัก การเรียกชื่อซีรีส์(Series) รุ่นหลักๆของโซ่แต่ละยี่ห้อเหมือนกันหรือพอเดาออกได้ แต่จะแตกต่างกันไปในรุ่นย่อย ๆ ที่ใช้งานเฉพาะกรณี หากผู้อ่านอยากรู้รายละเอียดจะต้องดูในแคตตาล็อกของผู้ผลิตสายพานยี่ห้อนั้นๆเอง
นอกจากนี้ยังมีรุ่นพิเศษอื่นๆเช่น ถ้าใช้งานหนัก(Heavy Duty) อาจจะใช้เป็นรุ่นที่มีขนาดบานพับใหญ่ขึ้น(Bigger Hinge) แผ่นPlate หนามากขึ้น (เช่นธรรมดาหนา 4.1 มิลลิเมตร ส่วนรุ่นพิเศษหนาขึ้นเป็น 4.8 มิลลิเมตร) หรือกรณีที่แรงดึงโซ่สูงมากอาจจะต้องใช้รุ่นที่มีบานพับใหญ่เป็นพิเศษหรือบานพับหนาเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีรุ่นที่มีรัศมีความโค้งน้อย (190 mm.) ทั้งหมดนี้หากรู้ความต้องการของตัวเองแล้วสามารถติดต่อขอรายละเอียดจากผู้ขาย Top Chain ยี่ห้อนั้นๆ
1.ประเภทของ Top Chain Application มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
Top Chain แบ่งตามลักษะณะการใช้งาน(Application)
1. TOP CHAIN วิ่งแนวตรง (Straight Running) แบบตรงโซ่แถวเดียว TOP CHAIN แบบนี้วิ่งด้วยความเร็วต่ำ(น้อยกว่า 30 เมตรต่อนาที) เหมาะสำหรับการขนถ่ายชิ้นงานที่ใช้ความเร็วไม่มากนัก สามารถเคลื่อนที่ได้เพียง 1 ระนาบเท่านั้น ใช้ขนถ่ายชิ้นงานที่มีฐานเรียบ สามารถตั้งอยู่บนแผ่นโซ่ได้โดยสมดุลไม่ล้ม เช่น ขวด ถาด กล่อง เป็นต้น
ตัวอย่างสายพานวิ่งแนวตรง (Straight Running Conveyor)
ตัวอย่างการทำงานสายพานวิ่งแนวตรง (Straight Running Conveyor Application)
2. TOP CHAIN วิ่งแนวโค้ง (Standard Side Flexing)ใช้โซ่แถวเดียว โซ่ลำเลียงชนิดที่สามารถเลี้ยวโค้งได้ (Sideflexing) ความกว้างของปีกโซ่จะมีหลายขนาดเหมือนกับโซ่ชนิดวิ่งแนวตรง (Straight Running) แต่ราคาจะสูงกว่า แบบวิ่งโค้งใช้โซ่แถวเดียวเหมาะสำหรับการลำเลียงชิ้นงานที่มีฐานเรียบ เหมือนแบบวิ่งตรง
ตัวอย่างสายพานวิ่งแนวโค้ง (Standard Sideflexing Conveyor)
ตัวอย่างการทำงานสายพานวิ่งแนวโค้ง (Standard Sideflexing Conveyor Application)
2.ความหมายของรหัส หรือ Specification ของ Top Chain
อย่างที่เคยกล่าวมาแล้วว่ารหัสของ Top Chain ผู้เขียนไม่ทราบที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร รายละเอียดต่างๆต้องเปิดในแคตตาล็อกของผู้ขายTop Chain ยี่ห้อนั้นผู้เขียนขอยก 1ตัวอย่างพอสังเขปดังนี้
ตัวอย่างเช่น 880TAB-K450 หมายความว่า
880 คือ ชื่อรุ่น(Serie)ของสายพาน
TAB คือ สายพานรุ่นมีปีกใต้ Plate สำหรับยึดเกาะกับรางด้านล่าง
K450 คือ สายพานมีขนาดหน้ากว้างเท่ากับ 4.50 นิ้ว(450 คือหน้ากว้าง 4-1/2นิ้ว)
3.ลักษณะพื้นผิวของ Top Chain
เมื่อเราออกแบบ Layout ของคอนเวเยอร์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราก็จะมาเลือกผิวหน้าของ Top Chain ว่าต้องเลือกผิวแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับงานของเรา ผิวหน้าเรียบใช้สำหรับการลำเลียงชิ้นงานทั่วไปในแนวราบ( Horizontal) ผิวหน้าหน้าติดยาง (เพื่อให้หน้าสัมผัสขอชิ้นงานกับโซ่มีแรงเสียดทานเพิ่มขึ้นจึงจะสามารถวิ่งขึ้น-ลงในแนวเอียงได้) ถ้าสายพานทำงานหนักต้องใช้ที่มีบานพับ 2 บาน (Double Hinge) หรือรุ่นที่ติดโซ่อยู่ด้านล่างเป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้งานพิเศษเช่น หากต้องการที่จะลำเลียงที่มีชิ้นงานสะสม (Accumulation) ด้วยต้องใช้ Top Chain แบบมี Roller Top เป็นต้น(เพื่อลดแรงเสียดทานและลดแรงดึงของโซ่)
ภาพรวมผิวพื้นฐาน(Standard)ของสายพาน
ตัวอย่าง Top chain แบบพิเศษใช้งานเฉพาะกรณี
ตัวอย่างผู้ผลิตรายหนึ่ง Standard Top Chain แบบวิ่ง ตรง/โค้ง ที่ทำจากโลหะ
ตัวอย่างจากผู้ผลิตรายหนึ่ง Standard Top Chain ที่ทำจากพลาสติกทั้งแบบวิ่ง ตรง/โค้ง
ตัวอย่างจากผู้ผลิตรายหนึ่ง Standard Top Chain ที่ทำจากพลาสติกทั้งแบบวิ่ง ตรง/โค้ง
ตัวอย่างจากผู้ผลิตรายหนึ่ง Multiflex Chain ที่ทำจากพลาสติกทั้งแบบวิ่ง ตรง/โค้ง
ตัวอย่างจากผู้ผลิตรายหนึ่ง Multiflex Chain ที่ทำจากพลาสติกทั้งแบบวิ่ง ตรง/โค้ง
รูปล่างเป็นTop Chain แบบ Roller Top ลดแรงเสียดทาน
Stock Top Chain รุ่น(Series)ต่างๆที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์เพื่อบริการลูกค้าของเรา