ตอน 1 บทนำโซ่ลำเลียง Top chain (Introduction to Top Chain Conveyor)

1.Top chain Conveyor คืออะไร คือระบบสายพานลำเลียงที่ใช้เฟือง(Sprocket)และโซ่(Chain)เป็นตัวกลางในการขับเคลื่อน เรียกว่าการขับแบบโพซิทีฟไดฟ์ (Positive Drive) ซึ่งจะทำให้สายพานเดินตรง ไม่เลื้อยและไม่สลิป(Slip) ใช้ลำเลียงชิ้นงานได้หลากหลายประเภท ทั้งรุ่นใช้งานหนัก (Heavy Duty) และงานเบา (Light Duty) สามารถวิ่งในแนวตรง(Straight)แนวโค้ง(side Flexing)แนวเอียง(Incline)หรือในแนวคดเคี้ยว (Spiral/Serpentine/Alpine)ได้ ตัวโซ่ทำจากโลหะหรือพลาสติกก็ได้ ลักษณะผิวด้านบนของโซ่ในยุคแรกเป็นผิวเรียบ แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงพัฒนาให้มีหลาย Style มากขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ติดยางติดบั้ง(Cleat) ติดครีบ (เพื่อลำเลียงในแนวเอียง) โซ่แต่ละแผ่นนำมาต่อกัน โดยใช้สลัก(pin) ต่อ link เป็นเส้นยาวตามความต้องการ

Top Chain มีความเร็วจำกัด เหมาะสำหรับการขนถ่ายชิ้นงานที่ใช้ความเร็วไม่มากนัก (น้อยกว่า 2.0 ม/ วินาที) ใช้ขนถ่ายชิ้นงานที่มีฐานเรียบ มีความสมดุลสามารถตั้งอยู่บนแผ่นรองรับ(ผิวบน)ของโซ่ได้โดยไม่ล้มเหมาะสำหรับการลำเลียงชิ้นงานขนาดเล็กในอุตสาหกรรมเฉพาะทาง เช่น ลำเลียงขวดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ลำเลียงกระป๋อง กล่องนม และ ลำเลียงกล่องอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น หากผู้อ่านท่านใดสนใจอยากจะมีความรู้เพิ่มเติม ยินดีต้อนรับที่สำนักงานของ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด มีตัวอย่างคอนเวเยอร์ของ Top chain Conveyor ของจริง หมุนได้ให้ท่านมาดูและศึกษายินดีต้อนรับทุกเวลานัดเข้ามาก่อนนะครับ


ตัวอย่าง Top Chain คอนเวเยอร์ของจริงเจาะรูให้เห็นอุปกรณ์ทุกสัดส่วน



ตัวอย่าง Top Chain คอนเวเยอร์ของจริงหลังจากประกอบเสร็จแล้ว



ตัวอย่าง Top Chain ลำเลียงขวดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง



ตัวอย่าง Top Chain ลำเลียงขวดพลาสติก



ตัวอย่าง Top Chain ลำเลียงกล่องอาหารสำเร็จรูป



ตัวอย่าง Top Chain Accumulation ลำเลียงขวดพลาสติก


2.ความเป็นมาของ Top Chain Flat Top Chain หรือ ที่เรียกกันว่า Top Chain เฉยๆ ผู้เขียน สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า Table Top chain หรือ Plate Top chain ซึ่งน่าจะหมายถึง Table/Plate (พื้นกระดานที่มีผิวเรียบ) ที่ทำหน้าที่เป็นโซ่(Chain) หรือ Table/Plate วางอยู่ข้างบนโซ่ (Top Chain) ต่อมาก็เรียกกันสั้นๆว่าTop chain จนติดปากส่วนการเรียกชื่อ Series หลากหลายของ Top chain ว่ามีที่ไปที่มาอย่างไรผู้เขียนขอสารภาพว่าไม่มีความรู้จริงๆ ใครมีข้อมูลก็ต้องกรุณาแบ่งปันให้พวกเราด้วย

Flat Top Chain มีพัฒนาการมานานนับร้อยปี จุดกำเนิดเริ่มที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวอย่างมาก จึงมีความต้องการระบบลำเลียงที่มีความสามารถสูงในการขนถ่าย ความเร็วในการลำเลียงมีความจำเป็นต้องเพิ่มสูงขึ้นเพื่อที่จะให้มีผลผลิต(Capacity) เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาระบบ Flat Top Chain เชื่อมโยงกับกระบวนการผลิต การบรรจุ การติดป้าย และ การบรรจุหีบห่อ เพื่อให้การลำเลียงครบวงจร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ปี ค.ศ.1935 Flat Top Chain ผลิตจากโลหะมีลักษณะคล้ายบานพับประตู รูปแบบการผลิตในครั้งแรกนั้นจะนำแผ่นเหล็กมาม้วนปลายทั้งสองข้างให้เป็นดุมโซ่พร้อมรูสลัก (Barrel)จากนั้นใช้สลัก(Pin)สอดเข้าไปในดุมโซ่(Barrel)เพื่อให้แผ่นเหล็กแต่ละชิ้นมาเรียงต่อ(Link)เนื่องกันไปยาวเป็นรูปโซ่ แผ่นFlat Top Chain ในยุคแรกนั้นทำด้วย carbon steel ป้องกันสนิมซึ่งสามารถวิ่งตรงได้เพียง 1 มิติต่อมาสามารถวิ่งได้ 2 มิติ ปัจจุบันมี Top Chain new generation(Multiflexchain) วิ่งได้ 3 มิติ


Flat Top chain ปี 1935



ตัวอย่างสลัก(Pin)ใช้เชื่อมต่อ Link ของสายพาน Top Chainปี 1935



ตัวอย่างรูป Top Chain plate โลหะแบบวิ่งตรงในปัจจุบัน


ใน 25 ปีต่อมา (ค.ศ.1960) โซ่ Flat Top Chain แบบพลาสติกได้ผลิตขึ้นมา (โดยมีรูปร่างคล้ายกับ Flat Top Chain ที่ทำมาจากโลหะ) โดยวิธีฉีดพลาสติกให้ด้านบนเป็นผิวเรียบพร้อมดุมโซ่และรูสลัก (Barrel) จากนั้นก็นำมาต่อกันด้วยสลัก(Pin) ต่อเนื่องกันยาวเป็นรูปโซ่ และใช้กันจนมาถึงปัจจุบันนี้


ตัวอย่างรูป Top Chain แบบวิ่งตรงรุ่น (820)ในปัจจุบัน



ตัวอย่างรูป Top Chain แบบวิ่งโค้ง รุ่น (882)ในปัจจุบัน



ลักษณะรูปร่างของ Top Chain (โซ่)และ Sprocket แบบพลาสติก



ตัวอย่าง รูปเฟืองขับ(มีฟัน)และเฟืองตาม(กลม)แบบพลาสติก


3. ชนิดวัสดุและคุณสมบัติของวัสดุสายพาน Top Chainวัสดุที่แสดงอยู่ในบทความนี้เป็นวัสดุพื้นฐานที่ใช้ในงานทั่วไปเท่านั้น ในปัจจุบันผู้ผลิตหลายรายได้ผลิตทั้งโลหะและพลาสติกให้มีคุณสมบัติพิเศษย่อยลงไปอีกอย่างมากหลายประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะอย่าง หากต้องการการใช้งานในลักษณะพิเศษให้ติดต่อกับผู้ขาย Top Chain ยี่ห้อนั้นๆและขอรายละเอียดคุณสมบัติของวัสดุจากผู้ขายได้


ตัวอย่างภาพรวมวัสดุของ Top Chain Material selection


ส่วนมัลติเพล็กซ์เชน (Multiflex Chain)หรือบางครั้งก็เรียก MultiFlexible chain เป็นสายพานที่วิ่งได้ในหลายระนาบมีความแข็งแรง(Strength) มากกว่า Top Chain ธรรมดา ใช้ในใช้ในคอนเวเยอร์ที่มีความยาวมาก บางครั้งก็ใช้เป็น Buffer Conveyor คดเคี้ยว เลี้ยวไป-มา เรียก Alpine Conveyor หรือ Serpentine Conveyor หรือใช้ในคอนเวเยอร์ที่ลำเลียงกล่องที่มีน้ำหนักบรรทุกมาก ซึ่งผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้แต่จะหาโอกาสนำเสนอในครั้งต่อไป


มัลติเพล็กซ์เชน (Multiflex Chain)



สายพานคดเคี้ยว Alpine Conveyor



สายพานคดเคี้ยว Serpentine Conveyor



สายพานแบบขับข้างรัศมีเล็กประหยัดพื้นที่


ภาพรวม การเลือกใช้ Top Chain Material selection

วัสดุ คุณสมบัติ
1.โลหะ (เหล็ก , สเเตนเลส)

 *ใช้งานที่อุณหภูมิสูงทนความร้อนได้ดี
 *ใช้กับชิ้นงานที่เป็นของมีคม เช่น ขวดแก้ว
 *ทนการกัดกร่อนสูง
  
2.Polyoxymethylene (POM) พลาสติกสีน้ำตาล

 *มีความแข็งแรงสูงที่สุด
 *วัสดุมีแรงเสียดทานน้อย
 *มีความทนทานทานสามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี
 *ทนต่อการขีดข่วน
 *ทนสารเคมีได้ดี
 *ทนสารเคมีได้ดี
 *น้ำหนักเบา
  

การเลือกใช้วัสดุของโซ่ Top Chain การเลือกใช้วัสดุ โลหะหรือพลาสติก และประเภทของโซ่(วิ่งตรงหรือวิ่งโค้ง) ทำงานหนัก-เบา ขึ้นอยู่กับชนิดชิ้นงานที่ลำเลียง ความเร็ว อุณหภูมิเงื่อนไขและสภาพสิ่งแวดล้อมในการลำเลียง

Carbon Steel โดยปกติแล้วทำจาก Cold-Finished Carbon หรือ Low Alloy Steel ชุบแข็ง ประมาณ 44 HRC ที่ผิวหน้า เพื่อทนทานต่อการการขีดข่วน ใช้ได้ดีในสภาพการทำงานที่แห้งไม่มีการกัดกร่อน เช่น ลำเลียงกระดาษ ขวดแก้ว ชิ้นส่วนโลหะ หรือวัสดุประเภทที่มีความคมสามารถรับแรงดึงได้สูงกว่า Stainless Steel

Stainless Steel โดยปกติแล้วทำจาก Cold-Finished Austenitic Stainless Steel ทนต่อการขัดสีได้ดีและมีความสามารถในการป้องกันการกัดกร่อนจากกรดได้สูง มีความแข็ง 26-30 HRCใช้ได้ดีในการลำเลียงประเภทขวด หรือบรรจุภัณฑ์ของเหลวที่อาจจะรั่วออกมาได้ ใช้ได้ดีในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องการความสะอาดสูง


ตัวอย่างรุ่น Top Chain แบบวิ่ง ตรง/โค้ง ที่ทำจากโลหะ


POM (Acetal) เป็นพลาสติกประเภท มี ส.ป.ส แรงเสียดทานต่ำทำงานโดยต้องหล่อลื่นหรือไม่ก็ได้ สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี เหมาะสมในการลำเลียงกระป๋องอะลูมิเนียม ขวดพลาสติก นอกจากนี้ POM ยังสะอาดวิ่งเงียบขณะทำงาน ใช้ได้ดีสำหรับลำเลียงชิ้นงานประเภท ห่อกระดาษ กล่องกระดาษ ที่ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เปื้อนอีกด้วย


ตัวอย่างรุ่น Top Chain ที่ทำจากพลาสติกทั้งแบบวิ่ง ตรง/โค้ง


4.ลักษณะพื้นผิวของสายพาน Top Chain


ตัวอย่างรุ่น Top Chain ที่ทำจากพลาสติกทั้งแบบวิ่ง ตรง/โค้ง


ลักษณะพื้นผิวของสายพาน Top Chain

1.ผิว Flat Top มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบไม่มีรูใช้ลำเลียงผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น ลำเลียงขวด กระป๋อง การลำเลียงกล่องอาหารสำเร็จรูป


2.LBP (Low Back pressure) มีลูกกลิ้งอยู่ผิวบนใช้ในกรณี Accumulation เพื่อลดแรงเสียดทานและลดเสียงดัง


โซ่ Low Back pressure มีลูกกลิ้งแบบวิ่งตรง



โซ่ Low Back pressure มีลูกกลิ้งแบบวิ่งโค้ง


3.Rubber Top ติดยางข้างบนโซ่ ช่วยป้องกันการลื่นไถลของวัสดุขณะลำเลียงในแนวเอียง


Rubber Top ติดยางข้างบนโซ่ ช่วยป้องกันการลื่นไถล


4.Gripper ติดยางที่ผิวบนโซ่เพื่อหนีบชิ้นงานลำเลียงขึ้นไปบนทางชันมากเช่น 90 องศา


ตัวอย่าง Gripper ติดยางบนโซ่เพื่อหนีบชิ้นงานลำเลียงขึ้นไปบนทางชัน


5.Plate Top มีลักษณะผิวเรียบไม่มีรูคล้าย Flat Top ติดโซ่เหล็กด้านล่างใช้แทนโซ่ที่มีดุมแบบพลาสติก ใช้ในงานหนักหรือในสายพานยาว (Long Conveyor Length) ที่ต้องการความแข็งแรงของโซ่ (High tensile Strength) มาก



ตัวอย่าง Plate Top มีโซ่เหล็กด้านล่าง


รวบรวบผิวของสายพาน Top Chain เหมาะแก่การลำเลียงวัสดุประเภทอะไรบ้าง?

ผลิตภัณฑ์ ชนิดผิวสายพานที่เลือกใช้
กระป๋องน้ำอัดลม (อะลูมิเนียม)

 SS Chain, Plastic Chain
ขวดแก้ว (one-way)

 Flat Top , SS Chain , Plastic Chain
ขวดแก้ว (return)

 SS Chain
ขวดน้ำพลาสติก PET (one-way)

 Flat Top , Plastic Chain
ขวดน้ำพลาสติก PET (return)

 Flat Top , SS Chain , Plastic Chain
ลัง

 SS Chain , CC Chain
กล่อง

 Flat Top , Plastic Chain
เป็นแพ็ค/ห่อ

 Flat Top , Plastic Chain

5.ประเภทของสายพาน(โซ่) Top Chain Chart แสดงอยู่ในบทความข้างล่างนี้เป็นวัสดุพื้นฐานที่ใช้ในงานทั่วไปเท่านั้น ในปัจจุบันผู้ผลิตหลายรายได้ผลิตทั้งโลหะและพลาสติกให้มีคุณสมบัติพิเศษย่อยลงไปอีกอย่างมากหลายประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะอย่าง หากต้องการการใช้งานในลักษณะพิเศษให้ติดต่อกับผู้ขาย Top Chain ยี่ห้อนั้นๆและขอรายละเอียดของวัสดุ ลักษณะการใช้งาน จากผู้ขายได้ ส่วนมัลติเพล็กซ์เชน (Multiflex Chain)หรือบางครั้งก็เรียก Flexible chain เป็นสายพานที่วิ่งได้ในหลายระนาบมี ความแข็งแรง(Strength) มากกว่า Top Chain ธรรมดา ใช้ในใช้ในคอนเวเยอร์ที่มีความยาวมาก บางครั้งก็ใช้เป็น Buffer Conveyor คดเคี้ยงเลี้ยวไป-มา เรียก Alpine Conveyor หรือ Serpentine Conveyor หรือใช้ในคอนเวเยอร์ที่ลำเลียงกล่องที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้แต่จะหาโอกาสนำเสนอในครั้งต่อไป ส่วนเรื่องการเรียก Series หรือระหัสของ Top chain ว่ามีที่ไปที่มาอย่างไรผู้เขียนขอสารภาพว่าไม่ทราบจริงๆใครมีข้อมูลก็ต้องขอรบกวนแบ่งปันให้พวกเราด้วย


ตัวอย่างภาพรวมชื่อรุ่นของ Top Chain


1.ประเภทของ Standard Top Chain Application มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่


ตัวอย่างภาพรวมชื่อรุ่นของ Top Chain


1.วิ่งแนวตรง (Straight Running) TOP CHAIN แบบตรงโซ่แถวเดียว ขนาดความกว้างของปีกโซ่มีหลายขนาด มีความเร็วในการเคลื่อนที่ต่ำ เหมาะสำหรับการขนถ่ายชิ้นงานที่ใช้ความเร็วไม่มากนัก สามารถเคลื่อนที่ได้เพียง 1 ระนาบเท่านั้น ใช้ขนถ่ายชิ้นงานที่มีฐานเรียบที่สามารถตั้งอยู่บนแผ่นโซ่ได้โดยสมดุลไม่ล้ม เช่น ขวด ถาด กล่อง เป็นต้น



Conveyor/Chain แนวตรง (Straight Running)


2.วิ่งแนวโค้ง (Side Flexing) TOP CHAIN แบบโค้งใช้โซ่แถวเดียว Side Flexing TOP CHAIN สามารถเลี้ยวโค้งได้ (Sideflexing) ขนาดความกว้างของปีกโซ่มีหลายขนาดเหมือนกับโซ่ชนิดวิ่งแนวตรง (Straight Running) แต่ราคาของโซ่ลำเลียงชนิดวิ่งแนวโค้งจะสูงกว่าแบบวิ่งแนวตรง Side Flexing TOP CHAIN แบบโค้งใช้โซ่แถวเดียวจะเหมาะสำหรับการลำเลียงวัสดุที่มีฐานเรียบ เหมือนแบบตรง แต่จะสามารถลำเลียงวัสดุเลี้ยวโค้งได้ 2 ระนาบ



Conveyor แนวโค้ง (Side Flexing conveyor)


3.ความหมายของรหัส หรือ Specification ของ Top Chain อย่างที่เคยกล่าวมาแล้วว่ารหัสของ Top chain ผู้เขียนไม่ทราบที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร รายละเอียดต่างๆต้องเปิดในแคตตาล็อกของผู้ขายTop Chain ยี่ห้อนั้นผู้เขียน ขอยกตัว 1 อย่างพอสังเขปดังนี้

ตัวอย่างเช่นสายพานรุ่น 880TAB-K450 หมายความว่า

880 คือ ชื่อรุ่นของสายพาน

TAB คือ สายพานรุ่นมีปีกโซ่สำหรับยึดเกาะหรือหนีบกับรางเพื่อป้องกันโซ่หลุดออกจากราง

K450 คือ สายพานมีขนาดหน้ากว้างเท่ากับ 4.50 นิ้ว


TOP Chain Stock ที่ คอนเวเยอร์ไกด์



Visitors: 77,051