Modular Belt VS Top Chain

Modular Belt VS Top Chain

1.ต้นกำเนิดสายพาน “Modular Belt” และ “Top Chain”
ปัจจุบันหากจะกล่าวถึงสายพาน “Modular Belt” และ“Top Chain” ผู้อ่านหลายคนก็คงจะสับสนแยกไม่ออกเหมือนกันเพราะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคย เรามาเริ่มกันง่ายๆตั้งแต่ว่ามันเกิดขึ้นยังไงก็แล้วกัน สายพาน Top chain เริ่มผลิตใช้งานประมาณปี ค. ศ. 1920 ส่วนสายพานโมดูล่าร์เริ่มใช้งานประมาณปี ค. ศ. 1973 ในภาคอุตสาหกรรมลำเลียงในประเทศไทยก็มีใช้งานกันมาระยะหนึ่งแล้ว เช่น ในอุตสาหกรรมลำเลียงขวด อาหาร ยานยนต์ ผลไม้ กล่องกระดาษ อุตสาหกรรมยาง เป็นต้น สายพาน Modular และ Top Chain ได้กำเนินเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ช้ากว่าสายพานจำพวกยางดำ(ค.ศ 1891) หรือสายพาน PVC/PU ถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่อยู่ก็ได้ เริ่มกันที่สายพาน Top Chain ผู้คนมักเรียกกันว่าสายพาน โซ่วางบน สายพานกระดูกงู หรือ สายพานซูชิ แต่ที่จริงแล้วถ้าพิจารณาตามลักษณะการทำงานถือว่า Top Chain เป็นโซ่ลำเลียงประเภทหนึ่งจะถูกต้องกว่าที่เรียกว่าสายพานเพราะ สมัยก่อนที่เริ่มกำเนิดลักษณะทางกายภาพของมันจะใช้ Plate ซึ่งเป็น Plastic หรือ Stainless Steel วางอยู่บนโซ่เบอร์ต่างๆ(เช่นโซ่เบอร์ 25 /40/ 50/ 60 /80 เป็นต้น) ซึ่งก็เป็นที่มาของภาษาพูดว่า โซ่วางบน (มีอะไรบางอย่างวางอยู่บนโซ่) หรือง่ายๆสั้นๆว่า Top Chain เฉยๆ


ผู้เขียนสันนิษฐานว่า Plate Plastic วางอยู่บน(Top)โซ่(Chain)เป็นที่มาของชื่อ Top Chain


แต่สายพาน Modular สามารถนำชิ้นส่วน(Module)มาประกอบกันได้เป็นหน้ากว้างมากๆได้ และมีลักษณะแบนเป็นผืนเดียวเหมือนสายพานลำเลียงจึงทำให้คนทั่วไปเรียกมันว่าเป็น (สายพาน) ทั้ง ๆที่มันคือแผ่นโซ่ผืนใหญ่ดีๆนั่นเอง โดยปกติแล้วสายพาน Modular จะสามารถใช้ได้หลากหลาย Application มากกว่าสายพาน Top Chain


การประกอบสายพานโมดูล่าร์จะเป็นโมดูลเล็กๆต่อเป็นผืนสายพานแผ่นใหญ่ๆ


2.ความต่างและความเหมือนของสายพานโมดูล่าร์และTop Chain
     ผู้เขียนจะลองนึกดูว่าสายพานโมดูล่าร์และสายพาน Top chain มีประเด็นไหนที่เหมือนกันบ้างมีประเด็นไหนที่ต่างกันบ้างชึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ออกแบบหรือผู้ที่ใช้งานพิจารณาเลือกใช้ประเภทของสายพานให้เหมาะสมกับงานของตนเอง

2.1 การเรียกชื่อสายพาน Modular และ Top Chain มีหลายสิบรุ่น บางรุ่นอาจจะเรียกชื่อตาม Common Name อีกหลายชื่ออาจจะเรียกตามลักษณะการใช้งาน ดังนั้นการเรียกชื่อจึงเรียกกันอย่างหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อหรือความคุ้นเคยของแต่ละบุคคล

2.2.1 Modular Belt สายพานโมดูล่าร์ เรียกกันว่า Plastic Belt, Plastic Chain, Modular Belt,สายพานพลาสติกโมดูลาร์ และอื่นๆ


ตัวอย่างบางส่วนของ Modular Belt Type ต่างๆ


2.2.2 สายพาน Top Chain เรียกกันว่า สายพาน Sushi-สายพานกระดูกงู-Slat Band-Flat Top Chain-โซ่วางบน-สายพานลำเลียงขวด-สายพาน Stainless-Chain Plate-และอื่นๆ


ตัวอย่างบางส่วนของ Top Chain Type ต่างๆ


2.2 หลักการทำงานการวาง layout และแนวทางในการออกแบบ ทั้งสายพานโมดูล่าร์และสายพาน Top chain มีจุดกำเนิดมาจากตัวแม่เดียวกันคือโซ่ (Chain) ดังนั้นหลักการทำงานจะมีลักษณะคล้ายกัน คือมีระบบขับเคลื่อนสายพานโดยใช้ Sprocket เกี่ยวแผ่น (ข้อ ร่อง หรือรู) สายพานเช่นเดียวกัน การออกแบบการวาง layout และการคำนวณก็มีหลักการเดียวกัน


สายพานโมดูล่าร์ขับเคลื่อนโดยการใช้เฟืองเกี่ยวกับร่องบนสายพาน



สายพาน Top chain ขับเคลื่อนโดยการใช้เฟืองเกี่ยวกับข้อของสายพานแผ่น(Plate)พลาสติกขับเคลื่อนโดยเฟือง(sprocket)ที่เป็นพลาสติก



เฟืองพลาสติกรุ่นต่างๆของ Top chain


2.3 หน้ากว้าง ประเด็นหน้ากว้างนี้น่าจะเป็นประเด็นหลักที่ใช้ในการเลือกใช้สายพานว่าจะเป็นประเภทสายพานโมดูล่าร์ หรือสายพาน Top chain กล่าวคือ สายพานโมดูล่าร์สามารถต่อหน้ากว้างของสายพานให้กว้างได้หลายเมตรตามที่ต้องการ ส่วนสายพาน Top chain ในแต่ละรุ่นจะมีระยะหน้ากว้างจำกัดเฉพาะรุ่น(เช่นหน้ากว้าง 2 นิ้ว 3 นิ้วหรือ 4 นิ้วเป็นต้น) ดังนั้นหากต้องการที่จะทำให้สายพานมีหน้ากว้างเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมจะต้องเอาสายพานเส้นนั้นๆมาต่อกันให้ได้หน้ากว้างตามที่ต้องการ ซึ่งกรณีนี้ถ้าเป็นสายพานที่ต้องการหน้ากว้างมากใช้สายพานโมดูล่าร์จะเหมาะสม ประหยัดและคุ้มค่ามากกว่า


สายพานโมดูล่าร์สามารถต่อหน้ากว้างของสายพานไปให้กว้างได้หลายเมตร



สายพาน Top chain ต้องใช้สายพานหลายเส้นมาต่อเรียงกันเพื่อให้ได้หน้ากว้างตามที่ต้องการ


2.4 ความหลากหลายของการประยุกต์ในการใช้งาน สายพาน Modular สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรมได้มากมายกว่าสายพาน Top chain และลักษณะการทำงานก็มีความสามารถหลากหลายกว่า ไม่ว่าจะเป็น แนวตรง แนวเอียง แนวโค้ง เป็นรูปตัว Z ตัว L หรือเป็นสายพาน Sorter ในการลำเลียงในระบบโลจิสติกส์เป็นต้น


สายพานโมดูล่าร์กับการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม


สายพาน Top chain ส่วนมากใช้ในอุตสาหกรรมลำเลียงของประเภทแพ็คเกจที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เช่นกล่องนม กล่องทิชชู ขวดน้ำบรรจุมีขนาดเล็ก


สายพาน Top chain ใช้ลำเลียงแพ็คเกจที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา


2.5 การรับ Load และความแข็งแรงทนทาน เนื่องจากสายพานโมดูล่าร์เกิดที่หลังสายพาน Top chain หลายปี ดังนั้นจึงเอาข้อด้อยของสายพาน Top chain มาพัฒนาเป็นสายพาน Generation ใหม่ๆที่สามารถใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม มีความแข็งแรงทนทานมากกว่าสายพาน Top chain ดังนั้นการเลือกใช้ต้องดูว่าเราจะไปใช้ในอุตสาหกรรมอะไรต้อง การความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนมากแล้วสายพานโมดูล่าร์จะสามารถตอบโจทย์ได้ครอบคุมกว้างขวางได้ดีกว่าสายพาน Top chain


การใช้งานสายพานโมดูล่าร์ในหลากหลายอุตสาหกรรม


2.6 รวบรวมความเหมือนและความต่างให้ดูกันอีกครั้งหนึ่ง สายพาน Modular V.S Top Chain มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่จะไม่เหมือนกันดังต่อไปนี้
     1.สายพาน Top Chain นั้นจะมีลักษณะเป็น Plate วางอยู่บนโซ่หรือเป็น plate แยกจากโซ่ก็ได้ แต่ modular Belt จะเป็นข้อโซ่ (Module)ต่อกันไปเรื่อยๆจนเป็นแผ่น(Plate) เป็นโซ่ผืนขนาดใหญ่
     2.สายพาน Modular สามารถต่อขยายหน้ากว้างเป็นสายพานเส้นเดียวได้ง่ายๆ หากต้องการให้สายพาน Top chain ที่มีขนาดหน้ากว้างมากขึ้นก็ต้องนำ Top chain ที่มีหน้ากว้างขนาดเล็กๆเอามาต่อเนื่องกันหลายๆเส้น สายพานที่หน้ากว้างๆ Top Chain จะทำเป็นผืนเดียวกันเส้นเดียวไม่ได้
     3.สายพาน Modular สามารถถอดประกอบและซ่อมบำรุงได้ง่ายกว่า Top Chainโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นสายพานที่มีหน้ากว้างมากๆ
     4.Top Chain บาง Type สามารถเข้าโค้งได้ดีกว่า Modular หมายความว่า Top Chain ใช้รัศมีที่มีความโค้งน้อยกว่า และประหยัดพื้นที่การทำงานมากกว่าสายพาน Modular
     5.แผ่น (Module) สายพาน Modular ผลิตจาก Plastic เท่านั้น ส่วน Top Chain อาจจะผลิตจากเหล็ก Stainless Steel หรือ Plastic ก็ได้
     6.สายพานTop Chain สามารถใช้ความเร็วในการลำเลียงได้สูงกว่าสายพาน Modular
     7.สายพาน Modular มีหลากหลาย Type ให้เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานได้มากกว่า สายพานTop Chain ส่วนมากจะใช้ลำเลียงขวดแพ็คเกจที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเบาหรือใช้ในร้านอาหารซูชิ( Sushi)เป็นต้น
     8.สายพาน Modular สามารถลำเลียงวัสดุในแนวเอียงได้เพราะสามารถติด Cleat และ Side Guard เพื่อป้องกันวัสดุตกหล่นได้ สายพาน Top chain ก็สามารถทำได้เช่นกันแต่มีข้อจำกัดในเรื่องการลำเลียงของที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก
     9.สายพาน Modular สามารถระบาย (Drain) น้ำหรือของเหลวออกจากวัสดุลำเลียงรวมถึงไห้อากาศ Flow ผ่านตัวสายพานได้ สายพาน Top chain ไม่มี Application นี้
     10.สายพานTop Chain ที่เป็น Stainless Steel สามารถทนความร้อนได้มากกว่า สายพาน Modular เพราะสายพานโมดูล่าร์เป็นพลาสติกไม่ได้ผลิตจากวัสดุที่เป็นโลหะ
     11.หากต้องการสายพานหน้ากว้างๆสายพาน Modular จะคุ้มค่ามากกว่า Top Chain
     12.Modular Belt สามารถลำเลียงแบบสะสมแถวคอย(Accumulate)ได้ดีเนื่องจากมีรุ่นที่มีลูกกลิ้งอยู่ด้านบน( Roller on Top Type)มีแรงเสียดทานน้อยกว่า จะเห็นได้ว่าสายพาน Modular และ Top Chain มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันเนื่องจากโครงสร้างของตัวสายพาน วัสดุ และคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นการเลือกใช้ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสม ข้อได้เปรียบเสียเปรียบก่อน เพื่อที่จะได้ระบบลำเลียงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด


3. ใครอยากทำสายพานโมดูล่าร์หรือ Top chain เชิญดูตัวอย่างได้ที่บริษัทคอนเวเยอร์ไกด์จำกัด
ใครอยากทำสายพานโมดูล่าร์หรือ Top chain ด้วยตัวเองสามารถมาดูตัวอย่างของจริงได้ที่บริษัทคอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ซึ่งมีให้ดูทั้งสองระบบของสายพานลำเลียง


มาดูโครงสร้างของสายพาน Top chain ได้ที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด



Stock สายพาน Top chain ของบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด


ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์
เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อค (Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ(Principle)และเหตุผล(Reasons) ว่าจะต้องทำยังไง(How)และทำไม(Why)จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt), สายพานกระพ้อ (Elevator Belt) , สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt) , สายพาน PVC BELT , PU BELT, สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้ ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดัง MOTTO " บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ " " เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง" อย่างจุใจจริงๆ "ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน" สนใจสอบถามได้ที่
     โทรศัพท์ : 02-992-1025, 090-9076077, 083-1318644
     โทรสาร : 02-992-1022
     Email : Info@conveyorguide.co.th
     Website : www.conveyorguide.co.th
     Line : @cg1356


Visitors: 78,138